Phone

Line

Wechat

Hide

BURNOUT SYNDROME ปัญหาใหญ่ในองค์กร

โดย | มี.ค. 30, 2022 | Uncategorized | 0 ความคิดเห็น

โปรแกรมบริหารงานบุคคล
Burnout Syndrome

“เมื่อไหร่จะเลิกงานสักที”

“เมื่อไหร่จะหมดวันนะ ไม่อยากไปทำงานเลย”

วลีเด็ดที่น่ากลัวเหล่านี้ อาจจะเกิดขึ้นในออฟฟิศคุณ ถ้าเกิดว่าหัวหน้า หรือเจ้าของบริษัทได้ยินวลีเหล่านี้ลอยมาเข้าหู ก็อย่านิ่งนอนใจนะครับ เพราะมันคืออาการภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงาน (BURNOUT SYNDROME) วลีหรือคำพูดเหล่านี้ ไม่ใช่แค่คำที่พูดกันแบบสนุกปากนะครับ แต่มันอาจจะแสดงให้เห็นถึงภาวะ BURNOUT SYNDROME ครับ

BURNOUT SYNDROME คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียด จนบางครั้งรู้สึกมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อหน่าย รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองงานที่กำลังอยู่ในเชิงลบ ขาดความสุข ไม่สนุกในเนื้องาน หมดแรงจูงใจประสิทธิภาพการทำงานลดลง บางรายอาจรู้สึกเหินห่างจากเพื่อนร่วมงาน จนทำให้ความมีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มอาการ ยังไม่รุนแรงเท่ากับโรคซึมเศร้า แต่หากปล่อยไว้และอยู่ในสภาพแวดล้อม และสภาพอารมณ์ลักษณะนี้เดิม ๆ อาจส่งผลต่อการทำงาน เช่น อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด หรือนานวันเข้าก็อาจเกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน 

แบ่งลักษณะอาการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. เหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกหมดพลัง สูญเสียพลังจิตใจ
  2. มีทัศนคติเชิงลบต่อความสามารถในการทำงานของตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ
  3. ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ความสัมพันธ์ในที่ทำงานเหินห่างหรือเป็นไปทางลบกับผู้ร่วมงานและลูกค้า

 สาเหตุ และความเสี่ยง ในการเกิดภาวะ Burnout Syndrome

               คนที่เริ่มมีภาวะหมดไฟในการทำงาน อาจมีตัวกระตุ้นหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยดังนี้

1.ปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน

  • มีความรับผิดชอบในงานสูงมากเกินไป ทำให้เกิดความวิตกกังวล
  • อยู่ในสิ่งแวดล้อม รวมถึงการงานที่ทำมีความกดดันและความเครียดอยู่ตลอดเวลา
  • ฝืนใจทำงานที่ตนเองไม่ถนัด ไม่ได้อยากทำ หรือไม่มีความรักในงานนั้น ๆ
  • ทำงานด้วยความเบื่อหน่าย อาจด้วยตัวงานเองหรือมาจากเพื่อนร่วมงาน
  • ถูกละเลย ไม่ได้รับการยอมรับ หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินไป
  • ต้องทำงานที่มีปริมาณมาก งานหนักเกินไป องค์กรไม่มีความชัดเจน หรือขาดความมั่นคง
  • ระยะเวลาในการทำงานนานเกินไป เช่น มากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน

2. ปัจจัยเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่

  • ทำงานหนักเกินไป กระทั่งไม่มีเวลาพักผ่อน
  • เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรือต้องดูแลพ่อแม่ที่สูงอายุตามลำพัง

3. ปัจจัยเกี่ยวกับบุคลิกส่วนตัว

  • เป็นคนเครียดง่าย หรือคาดหวังในการทำงานสูงมากเกินไป
  • ไม่ชอบพูดคุยปรึกษากับเพื่อนร่วมงาน หรืออาจเป็นคนไม่ยืดหยุ่น ต้องการให้ทุกอย่างอยู่ในความควบคุมของตนเอง

วิธีการป้องกัน Burnout Syndrome

               ควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของตัวเองที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เมื่อเริ่มเครียดก็ควรรีบจัดการก่อนที่จะเป็นมาก เพื่อช่วยให้มีสุขภาพจิตที่ดี ดังนี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา ก่อนนอนอย่าเสียเวลาไปกับความกังวลในเรื่องงาน
  • ลดความเครียดลง โดยการหากิจกรรมทำนอกเวลา ฟังเพลง ดูหนัง ออกกำลังกาย ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้ลาพักร้อนเป็นระยะเวลาสั้น ๆ บ้าง
  • ปรับทัศนคติในการทำงาน ทำความเข้าใจในเนื้องาน และองค์กรที่ทำงานด้วย
  • จัดลำดับความสำคัญของงาน และพร้อมที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของงานได้เสมอ
  • เปิดใจให้กับคนรอบข้าง อย่าลังเลที่จะปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน พยามหลีกเลี่ยงกับคนที่มีความคิดในแง่ลบ ยอมรับความแตกต่างของคน และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน

               โดยสรุป อาการ Burnout หรือ ภาวะหมดไฟ เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคนจำนวนไม่น้อยในยุคปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าอัตราการลาออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลที่ว่ารู้สึกหมดไฟ คนที่เผชิญกับภาวะหมดไฟจะมีความรู้สึกที่เรียกว่า หมดแพชชั่น เบื่อหน่าย หมดไฟ หมดกำลังใจ และไม่พึงพอใจกับงานที่ทำ เรื่องนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องช่วยกันแก้ไข เพราะหากปล่อยให้คนเหล่านั้นอยู่ในสภาวะหมดไฟเป็นเวลานานอาจนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ ในฐานะองค์กรก็สามารถช่วยพนักงานไม่ให้ไปถึงจุดที่หมดไฟได้ด้วยการหมั่นสังเกตอาการและพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาระดับบุคคลภายในองค์กรได้แล้ว ยังช่วยป้องกันภาวะหมดไฟได้ในระยะยาวอีกด้วยครับ

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

thTH