Phone

Line

Wechat

Hide

เมื่ออยากเป็นคนสำคัญในองค์กร

by | Jan 25, 2023 | Uncategorized

การเป็นคนสำคัญในองค์กรหรือส่วนหนึ่งในสังคมเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เรา มีใครบ้างที่อยากรู้สึกแปลกแยก ทฤษฎีโด่งดังอันหนึ่งที่ช่วยยืนยันเรื่องนี้ได้คือ Maslow’s Hierarchy of Needs นักจิตวิทยาเจ้าของกฤษฎีนี้บอกเราว่า Love and belonging ต้องถูกเติมเต็มก่อน ก่อนที่เราจะไปถึงขั้นสูงสุดอย่าง Self-actualization หรือความต้องการพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ไม่ใช่แค่ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน แต่คนเราต้องการเป็นส่วนหนึ่งในทุกสังคมที่เราอยู่ แน่นอนว่านั่นรวมถึงที่ทำงาน

คนสำคัญในองค์กร

เมื่ออยากเป็นคนสำคัญในองค์กร

Where we belong?

Culture of Belonging อาจเป็นตัวละครลับที่ทำให้องค์กรของคุณโดดเด่นจากองค์กรอื่นในช่วงที่คนกำลังเปลี่ยนงานหลังยุคโควิด-19 ผลสำรวจล่าสุดของ Glassdor พบว่าคน 42% ยกให้ diversity and inclusivity เป็นหนึ่งในเกณฑ์สำคัญเมื่อพิจารณาเลือกงานใหม่ เมื่อคนทำงานพยายามค้นหาที่ที่ตัวเองมีตัวตน รู้สึกสบายที่ได้อยู่สังคมนั้น องค์กรที่สามารถพิสูจน์ให้พนักงานใหม่เห็นว่าที่นี่มีวัฒนธรรมองค์กรแบบ diverse and inclusive ได้ ก็มีโอกาสที่จะดึงดูดพนักงานเก่ง ๆ มาร่วมงานได้สำเร็จ เช่นเดียวกับพนักงานเก่าที่รู้สึกอยากอยู่ในวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อไปเรื่อย ๆเมื่อความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเกิดขึ้น พวกเขาจะเกิด sense of purpose หรือความอยากทำงานให้ดีและตระหนักรู้ถึงเป้าหมายของตัวเอง ทีม ไปจนถึงเป้าหมายขององค์กร โฟกัสไปที่ตัวงานได้ดีขึ้น รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร ทำไปทำไม เพื่อใคร และพร้อมมุ่งไปในเป้าหมายเดียวกันกับทุกคน

ที่ตรงนี้มีใครเห็นฉันบ้างหรือเปล่า

เห็นด้วยหรือไม่ว่าพนักงานทุกคนไม่ว่าจะอยู่แผนกไหนหรือทำหน้าที่อะไรล้วนมีส่วนช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ จากผลสำรวจของ Global Human Capital Trends survey พบว่าพนักงาน 93% เห็นด้วยว่า belonging ทำให้พวกมี performance ที่ดีขึ้น ฉะนั้นมาลองพิจารณากันอีกครั้งว่าเราหลงลืมใครโดยไม่ตั้งใจหรือเปล่า งานวิจัยพบว่าความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยเป็นพิเศษในคนบางกลุ่ม เช่น พนักงานสัญญาจ้างชั่วคราว ที่นั่งทำงานท่ามกลางพนักงานประจำ – องค์กรหลายที่ปฏิบัติต่อพนักงานสองกลุ่มนี้ต่างกันแม้ว่าพวกเขาจะนั่งทำงานด้วยกัน มีเนื้องานคล้ายกัน พนักงานกลุ่มเด็ก ๆ – งานวิจัยพบว่าพนักงานอายุน้อยต้องการเป็นที่ยอมรับมากกว่าพนักงานผู้ใหญ่ ประมาณ 4 ใน 10 ของพนักงานเด็กบอกว่าต้องการการเอาใจใส่จากหัวหน้าอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่มีแค่ 25% ที่ได้รับการเอาใจใส่ตามความต้องการนี้ พนักงานที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม เพศ และเชื้อชาติ – ความรู้สึกแปลกแยกมีโอกาสเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นคนกลุ่มน้อยในองค์กร และยิ่งแย่ลงหากเจอสังคมที่ไม่ยอมรับความแตกต่าง หัวหน้ามีอคติเวลาประเมินงาน ปิดกั้นโอกาสก้าวหน้า จนรู้สึกหมดกำลังใจในการทำงาน และไม่ใช่แค่ในฐานะตัวบุคคลเท่านั้น ความไม่เป็นส่วนหนึ่งอาจมาในรูปแบบมวลความรู้สึกของกลุ่มคนหรือทีมงานได้เช่นกัน เช่น ทีมที่องค์กรให้ budget น้อยน้อย เมื่อเทียบกับทีมอื่น ๆ อาจเริ่มสงสัยในความสำคัญของทีมต่อองค์กร จะเห็นได้ว่าความสองมาตรฐานเป็นปัจจัยขัดขวาง Culture of Belonging ความเท่าเทียมในที่ทำงานจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย

สัญญาที่ดีเริ่มจากการเห็นคุณค่าของกันและกัน

ในทีมฟุตบอลหนึ่งทีมประกอบด้วยคนหลายตำแหน่ง ทุกตำแหน่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทีมชนะ คนทำงานก็เช่นกัน ในเวลาที่ทีมประสบความสำเร็จ คนทำงานต้องการรู้สึกเป็นคนสำคัญของทีมที่ขาดไม่ได้ ดังนั้นหากคุณอยู่ในฐานะหัวหน้า คุณควรแสดงออกว่าคุณเห็นคุณค่าในความพยายามของแต่ละคนจริง ๆ นอกจากกล่าวขอบคุณทีมโดยรวมแล้ว อย่าลืมกล่าวชื่นชมลูกทีมแต่ละคนต่อหน้าคนอื่น และอาจจะเพิ่มบางประโยคเพื่อเป็นกำลังใจให้คนที่มีผลงานโดดเด่น เช่น “งานนี้คงประสบความสำเร็จไม่ได้ถ้าไม่มีคุณ” อาจเลือกใช้อีเมลเป็นช่องทางการสื่อสาร โดยในอีเมลเราสามารถเขียนรายละเอียดเพิ่มเติมได้ว่าเราเห็นคุณค่าอย่างไรบ้าง พร้อมเสนอแนวทางพัฒนาในอนาคต ทำให้ลูกทีมรู้สึกมีคนเห็นคุณค่าและมีคนคอย support

ลองสังเกต 3 สัญญาณเหล่านี้ที่แสดงว่า Culture of Belonging ในองค์กรของคุณกำลังไปได้สวย 1.ทุกคนเห็นคุณค่าของสิ่งที่ผู้อื่นทำ 2.มีความต้องการพัฒนาความสัมพันธ์จากความสัมพันธ์ทั่ว ๆ ไป สู่ความสัมพันธ์ที่มีความหมาย 3.มีความรู้สึกยินดีที่ได้เห็นความแตกต่างหลากหลายในองค์กร

Culture of Belonging สร้างง่ายกว่าที่คิด

ไม่ใช่แค่เฉพาะ HR และผู้บริหารระดับสูงเท่านั้นที่สามารถสร้าง Culture of Belonging ได้ ทุกคนในองค์กรต่างก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมนี้ได้แบบง่าย ๆ ตามหลักจิตวิทยาของการเกิด belonging – รับฟังความคิดเห็น องค์กรที่เต็มไปด้วยไอเดียสร้างสรรค์มักเกิดจากการสนับสนุนให้พนักงานมีเป้าหมายเดียวกันแต่มองวิธีแก้ปัญหาในมุมที่ต่างกัน เมื่อคนทำงานไม่กลัวที่จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง พวกเขาจะรู้สึกว่าสังคมเคารพวิธีคิดและตัวตนของพวกเขา และเชื่อว่า ‘ที่นี่คือที่ของฉัน’ ในที่สุด ในฐานะหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน เราจำเป็นต้องปรับ mindset ว่าไม่ใช่แค่เราที่เก่งแต่ทุกคนสามารถมีไอเดียที่ดีกว่าได้ หัวใจสำคัญคือ Active listening หรือการฟังอย่างตั้งใจ ทำความเข้าใจว่าอีกฝ่ายต้องการพูดอะไร และแชร์ในมุมมองของเราว่าไอเดียที่เสนอมาดีหรือไม่ดีอย่างไร ต่อยอดได้ไหม ไม่ใช่ทำหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น งานวิจัย State of the Global Workplace: 2022 โดย Gallup พบว่า การรับฟังความคิดเห็นช่วยลด turnover ได้ 27% ลดความเสี่ยงสถานการณ์ไม่ปลอดภัยได้ 40% และผลงานมีคุณภาพดีขึ้น 12%

  • สร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมาย คนเราจะรู้สึกผ่อนคลายและเป็นตัวเองที่สุดเมื่ออยู่กับเพื่อนสนิท เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรมีเพื่อนสนิทหรือใครสักคนที่ห่วงใยในที่ทำงาน ที่ทำงานจะกลายเป็นสถานที่ที่เราอยากไป ความสัมพันธ์ที่มีความหมายจะเกิดขึ้นได้ในสังคมที่มีความเป็นกันเอง ไม่แบ่งชนชั้นจนเกินไป ซึ่งรวมถึงการออกแบบออฟฟิศที่เปิดโอกาสให้คนปฏิสัมพันธ์กันอย่างทั่วถึง งานวิจัยพบว่าการมีเพื่อนสนิทในที่ทำงานส่งผลต่อ business performance จริง เพราะคนจะอยากทำงานอย่างเต็มที่เพื่อประสบความสำเร็จไปด้วยกัน จดจำความสำเร็จของกันและกันได้ ดังนั้นในฐานะหัวหน้าจึงควรหาโอกาสให้ลูกทีมได้ทำความรู้จักและสนิทสนมกันมากขึ้น การมีเพื่อนสนิทในที่ทำงาน ช่วยลดความเสี่ยงสถานการณไม่ปลอดภัยได้ 36% เพิ่ม customer engagement ได้ 7% และช่วยให้องค์กรทำกำไรเพิ่มขึ้นได้ถึง 12%
  • เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมในความแตกต่างอย่างเข้าใจ องค์กรยุคใหม่จำเป็นต้องเข้าใจ DEI หรือ Diversity Equality & Inclusion เพราะคนที่มีความแตกต่างมีแนวโน้มที่จะรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

DEI ในองค์กรอาจเริ่มจากการสร้าง awareness ให้กับผู้บริหารและหัวหน้าทีมให้เข้าใจว่าอะไรคือ challenge ที่คนเหล่านี้ต้องเผชิญ และอะไรคือโอกาสที่เกิดขึ้นจากความแตกต่าง หัวใจสำคัญคือการแบ่งเวลามาพูดคุยทำความรู้จักกัน และช่วยส่งต่อแนวคิดการอยู่ร่วมกันไปสู่ลูกทีมที่เหลือ

ถ้าองค์กรของคุณมี newsletter ลองพิจารณาเปิดพื้นที่ให้พนักงานได้แชร์เรื่องราวของตัวเองให้คนอื่นได้รู้ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ทำงานหรือเรื่องส่วนตัวที่อยากเล่า โดยเลือกคนจากหลากหลายแผนก หลากหลายระดับ เพราะการรับและแชร์เรื่องราวเป็นวิธีพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์เรารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในสังคม

แม้ว่าทุกวันนี้ Work from Home จะทำให้การทำงานของเราใกล้ชิดกันน้อยลง แต่ความต้องการเป็นคนสำคัญในที่ทำงานไม่ได้หายไปไหน เป้าหมายของการเป็นหัวหน้าที่ดีก็ไม่เคยเปลี่ยนไปนั่นคือช่วยให้คนในทีมมีความกลมเกลียวพร้อมมุ่งสู่เป้าหมาย และองค์กรก็อยากให้ธุรกิจก้าวหน้าไปพร้อมกับการทำให้พนักงานมีความสุขและเติบโตไปด้วยกัน ฉะนั้นแล้ว culture ขององค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพียงแค่ปรับ culture องค์กรสักนิด ก็จะช่วยให้คนทำงานมีชีวิตชีวามากขึ้นได้ แล้วคุณอาจจะพบว่าองค์กรของคุณน่าอยู่ขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ


Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN