Phone

Line

Wechat

Hide

ถูกเลิกจ้าง อ้างวิกฤต Covid-19 ลูกจ้างจะเรียกร้องสิทธิได้ไหม?

by | Mar 7, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล
ถูกเลิกจ้าง

สวัสดีครับ จากบทความตอนที่แล้วเรื่อง ลูกจ้างลาออกไม่แจ้งลาออ ไม่บอกล่วงหน้า  หรือแจ้งไม่ครบ 30 วัน ระวังจะเจอสิ่งนี้ แน่นอนครับเมื่อมีคำถามจากนายจ้าง ก็ย่อมจะต้องมีคำถามจากฝั่งลูกจ้างได้เช่นเดียวกัน ถ้าใครติดตามข่าวเศรษฐกิจก็จะเห็นว่าบริษัท ห้าง ร้าน โรงงานหลายแห่งได้ปิดตัวลงอย่างถาวร เนื่องจากทนแบกรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ไหว เหตุผลก็น่าจะเหมือนกันทั่วประเทศ คือ ปัญหาจากวิกฤตเชื้อ โคโรน่าไวรัส 2019 หรือ COVID-19 นั่นเอง

จากการปิดตัวดังกล่าวข้างต้น ก็จะมีผู้ประกอบการ หรือนายจ้างที่พอจะมีกำลังในการชดเชยค่าแรงให้กับลูกจ้างมากบ้างน้อยบ้าง ตามกำลัง แต่จะมีนายจ้างอีกประเภทที่หนีหายไปเลยคือเลิกจ้างกันดื้อ ๆ ประเด็นนี้แหละที่เราจะมาพูดกันในวันนี้ โดยสามารถแบ่งเป็นหัวข้อได้ดังนี้ครับ

การถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมคืออะไร?

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันมีปัจจัยหลักที่มากจากวิกฤตเชื่อโคโรน่าไวรัส 2019 หรือ  Covid – 19 ที่ยังคงระบาดต่อเนื่องอยู่ในปัจจุบัน สถานประกอบการหลายแห่งต่างต้องการลดการจ้างแรงงาน ซึ่งถ้าจะพูดกันในมุมของHR ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดต้นทุนของนายจ้างหรือผู้ประกอบการ ด้วยเหตุเหล่านี้ลูกจ้างจำนวนมากต้องถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้เตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ดังน้ันสิ่งที่ลูกจ้างควรต้องรู้คือสิทธิที่ตนเองจะต้องได้รับจากนายจ้างกรณีที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

ประมวลกฎหมาย

เรามาว่ากันด้วยเรื่องของกฎหมายกันหน่อย การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม หมายความว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งเหตุอันสมควรดังกล่าว มาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติถึงเหตุอันสมควรซึ่งนายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยที่ลูกจ้างคนดังกล่าวไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ กับนายจ้างได้เลย กล่าวคือ ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าชดเชยจากการถูกเลิกจ้างงกับนายจ้างได้ โดยเหตุอันสมควร ตามมาตรา 119 มี 6 ประการ ดังนี้
               1. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
               2. ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
               3. ลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
               4. ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง อันชอบด้วยกฎหมายและเป็น   

ธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่ง

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
               5. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอัน

สมควร
               6. ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด หากเป็นความผิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยประมาทหรือ

ความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายด้วย

การเรียกร้องสิทธิ

หากพนักงานที่ถูกเลิกจ้างไม่ได้เข้าข่ายใน 6 ข้อดังกล่าวข้างต้นแล้ว ถือว่าลูกจ้างถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมสามารถเรียกร้องสิทธิที่พึงได้รับ ดังนี้
               1. ค่าชดเชย กรณีเลิกจ้าง แบ่งเป็น
               – ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
               – ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
               – ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
               – ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
               – ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
               2. ค่าตกใจ (สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า) หากเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กฎหมาย

กำหนด
3. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

เมื่อเป็นคดีความ

ในการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงานของลูกจ้างนั้น ศาลอาจจะกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างได้อีกด้วย ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งบัญญัติว่า “การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนโดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา”

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN