Phone

Line

Wechat

Hide

6 เรื่องควรรู้ในวันปฐมนิเทศพนักงานใหม่

by | Nov 21, 2022 | Uncategorized

การปฐมนิเทศ (Orientation) คือ การชี้แจงเบื้องต้นเพื่อปฐมนิเทศพนักงานใหม่ ได้รู้เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับองค์การที่เขาจะเข้ามาดำเนินชีวิตด้วยความสูงและพอใจในหน้าที่การงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านจิตใจ ให้เกิดความรัก ความผูกพันที่จะร่วมทำงานภายใต้ความศรัทธา ไว้วางใจในการอยู่ทำงานกับองค์การตั้งแต่ต้น

สิ่งสำคัญที่สุดก่อนสิ่งอื่นใดทั้งหมด ในการปฐมนิเทศ คือ ความประทับใจครั้งแรก เพราะสิ่งที่พนักงานใหม่คาดหวังว่าจะได้พบ เมื่อเขาย่างก้าวเข้ามาทำงานในวันแรก นั่นคือหวังว่าจะได้ความรู้สึกว่าองค์กรที่เขาจะมาร่วมงานด้วยนั้น เขามีความมั่นใจว่า “ใช่” ในการเป็นหน่วยงานที่เขาจะทุ่มเทชีวิต เวลา และความมุ่งมั่นในการทำงาน เพื่อความมั่นคงและเจริญก้าวหน้าของตนเอง บางองค์กรอาจกำหนดโครงสร้างหลักสูตรไว้ชัดเจน หัวข้อการสอน ผู้รับผิดชอบ ที่แน่นอน วิธีการนี้จะทำให้ผู้เข้าอบรมในแต่ละรุ่นได้ความรู้ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เข้าใจเรื่องราวขององค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่หากองค์กรไม่ได้มีการจัดการอบรมสำหรับพนักงานใหม่ที่เป็นมาตรฐานไว้แล้ว คือ ค่อย ๆ ให้พนักงานเรียนรู้เอง ซึมซับเอง ไม่มีการกำหนดหัวข้อที่ชัดเจน ผู้เข้าอบรมจะได้ความรู้ที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์ อารมณ์ ทัศนคติของผู้สอนแต่ละคนที่มีไม่เท่ากัน เป็นการเสี่ยงให้พนักงานใหม่ที่เราอุตส่าห์คัดเลือกมาจากผู้สมัครเป็นสิบ ๆ ร้อย ๆ คน ต้องเผชิญกับโลกใหม่ในองค์กรของเราเองอย่างโดดเดี่ยว ทั้ง ๆ ที่เป็นหลักสูตรแรกที่จะสร้างความประทับใจให้ผู้เข้าอบรมสิ่งที่ควรกำหนดให้พนักงานใหม่เรียนรู้ในวันปฐมนิเทศเพื่อสร้างความประทับใจแบบรักแรกพบ แบ่งออกเป็น 6 เรื่อง ดังนี้

6 เรื่อง ปฐมนิเทศพนักงานใหม่

          1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับองค์กร หรือความรู้เกี่ยวกับสิทธิ์ต่าง ๆ ที่พนักงานได้รับ เช่น ประวัติองค์กร การกรอกเอกสารเข้างาน หรือแบบฟอร์มต่าง ๆ เงินเดือนและสวัสดิการ การคำนวณค่าล่วงเวลา กฎระเบียบและวินัย สิทธิ์การลา ระยะเวลาการทดลองงาน รถรับส่ง ที่จอดรถ เวลาทำงาน เวลาพัก การเข้ากะ ฯลฯ เป็นต้น

          2. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน หรือระบบที่องค์กรได้รับการรับรอง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระบบหรือมาตรฐานของแต่ละองค์กรที่ได้รับการรับรอง เช่น องค์กรได้รับการรับรองระบบ ISO 14001 ซึ่งมีข้อกำหนดในการอบรมพนักงานในความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

          3. ความรู้ที่กฎหมายกำหนด เช่น เรื่องการอบรมลูกจ้างตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกจ้างทุกคนเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นสำหรับสถานประกอบกิจการทุกแห่ง เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดเนื่องจากการทำงานและเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือเกิดการเจ็บป่วยจากโรคจากการทำงาน เป็นต้น

          4. Basic Technical Skill การให้ความสำคัญกับการปูพื้นฐานความรู้เรื่อง Basic Technical Skill ให้กับพนักงานใหม่ก่อนส่งพนักงานให้หน่วยงานต้นสังกัด ทั้งนี้ช่วยให้หน่วยงานต้นสังกัดไม่ต้องเสียเวลาในการปูความรู้พื้นฐานทางเทคนิคให้พนักงานใหม่สามารถเข้าใจถึงกระบวนการทำงานใน Process ได้เลย

5. ความรู้ หรือสิ่งที่องค์กรต้องการเน้นย้ำ เช่น บางองค์กรเน้นเรื่องวินัยในการทำงานมาก เพราะถือว่าเป็นพื้นฐานในการทำงานที่จะต่อยอดไปสู่การพัฒนาในด้านอื่น ๆ หรือเรื่องปัญหาคุณภาพที่ต้องการเน้นให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึกรักษามาตรฐานและคุณภาพในงานของตน หากมีสิ่งที่องค์กรต้องการเน้นย้ำก็ควรแยกประเด็นออกมาเพื่ออบรมให้พนักงานทราบและตระหนักอย่างชัดเจน

6. ปัจจัยที่จะทำให้ผ่านทดลองงาน เรื่องนี้หลายคนอาจแย้งว่าทำไม่เราต้องสอนให้พนักงานใหม่ทราบถึงปัจจัยที่จะทำให้ผ่านทดลองงานด้วย ในเมื่อหากพนักงานทำตัวไม่ดีก็ไม่ควรผ่านทดลองงานอยู่แล้ว แต่ที่ต้องอบรมกันในเรื่องนี้เพราะว่า เด็กใหม่ ๆ ใส ๆ ที่เพิ่งจบกับมา อาจมีความเป็นตัวของตัวเองสูง จะให้ยอมรับกฎกติกาอะไรง่าย ๆ ก็ไม่ได้ ต้องมีคำถามว่าทำไม ทำไม ทำไม อย่างที่หลายคนคงได้เจอ องค์กรจำเป็นต้องชี้แจงว่าปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้เขาผ่าน หรือไม่ผ่านทดลองงาน เพื่อเป็นโอกาสในการอธิบายที่มาของแต่ละปัจจัย และเพื่อเป็นการป้องกันการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบโดยไม่ตั้งใจของพนักงานใหม่ ซึ่งเชื่อว่าระยะเวลาการทดลองงาน 3-6 เดือน น่าจะเพียงพอสำหรับหัวหน้างานในการพิจารณาว่าใครสมควรได้ไปต่อ

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN