Phone

Line

Wechat

Hide

ลาป่วยขนาดไหน อาจจะได้ลาออก

by | Mar 8, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล
ลาป่วย

               “หัวหน้าครับ วันนี้ผมขอลาป่วย แค๊ก ๆ ๆๆ ๆ”

               “ลาบ่อยนะครับ”

               “ผมลาตามสิทธิครับ”

               ใครก็ตามที่เป็นนายจ้าง จะต้องเจอเรื่องพวกนี้แน่นอน จริงอยู่ครับ การลาป่วยถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของลูกจ้าง แต่ถามาจะสี่วัน ลาหนึ่งวัน หรือเดี๋ยวก็ลาป่วยไม่หายสักที ก็ย่อมจะต้องมีผลกระทบกับงานที่ทำไม่มากก็น้อย นอกจากนั้นยังเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบ จนอาจกลายเป็นปัญหาลุกลามไปถึงระบบบังคับบัญชาภายในองค์กร จนทำให้นายจ้าง และ HR ปวดหัวไปตาม ๆ กัน

เรื่องของการลาป่วยนั้นมีข้อกำหนดใน พรบ. คุ้มครองแรงงาน ไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ถึงจำนวนวันที่สามารถลาได้ ลาป่วยจะต้องมีหลักฐานอะไรบ้าง วันนี้เรามาดูกัน

พรบ.คุ้มครองแรงงาน

ก่อนอื่นต้องบอกว่า ลูกจ้างทุกคนทีสิทธิที่จะลาป่วยได้ ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา32 ลูกจ้างมีสิทธิลาได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการทำงาน มิให้ถือเป็นวันลาป่วย แต่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน

ลาป่วยตาม พรบ. แต่ก็อาจถูกไล่ออก!!!

ถึงแม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้ลูกจ้างสามารถลาป่วยได้ถึง 30 วันต่อปี แต่ในบางรายที่การขาดงานบ่อยครั้งมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผู้บังคับบัญชาควรหามาตรการตักเตือน หรือบทลงโทษที่เด็ดขาดมาจัดการกับพนักงานเหล่านี้ และหากพบว่าอาการป่วยส่งผลต่อการทำงาน นายจ้างมีสิทธิพิจารณาเลิกจ้าง เนื่องจากพนักงานหย่อนสมรรถภาพในการทำงานได้ โดยจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนด

ทางออกมีเสมอ

               แต่เรื่องการลาป่วยเยอะ หรือ มีคนลาป่วยบ่อย ถ้ามองกันอีกมุมก็อาจจะเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพของอาชีวอนามัยในองค์กรอีกด้วย ยิ่งถ้าเป็นโรงงาน หรือกิจการที่ต้องใช้แรงงานที่มีฝีมือ หรือทักษะด้วยแล้วการที่ลูกจ้างลาป่วยบ่อย ย่อมไม่เป็นผลดีต่อสายการผลิตแน่นอน และถ้าเป็นกรณีของสภาพของสถานที่ทำงานไม่เอื้อต่อการทำงาน อับอากาศ มีการรั่วไหลของสารเคมี ร้อนไป หนาวไป หรือมีอันตรายอื่น ๆ ถึงเราจะไล่ลูกจ้างที่ป่วยบ่อยออก การรับลูกจ้างคนใหม่เข้ามา ก็อาจจะประสบปัญหาการลาป่วยบ่อยเช่นเดิมครับ

               ตามหลักแล้ว HR ควรจะต้องเรียกมาคุย หรือตักเตือนก่อน ที่จะดำเนินการไล่ออกตามระบบ เพราะถ้าสถานที่ทำงานก็ปกติ คนอื่น ๆ ก็ไม่ป่วย ถ้าปล่อยเอาไว้ก็อาจจะเป็นปัญหาระยะยาวได้ นายจ้างหลายรายตัดสินใจส่งลูกจ้างที่ฝีมือดี ไปรักษาโรคเรื้อรังนั้น ๆ อย่างจริงจังจนหายขาด นอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาอย่าสันติวิธีแล้ว ก็ยังได้ใจลูกน้องอีกด้วยครับ

บทความ : ถูกเลิกจ้าง อ้างวิกฤต Covid-19 ลูกจ้างจะเรียกร้องสิทธิได้ไหม? – GEEHRM

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN