Phone

Line

Wechat

Hide

รู้หรือไม่ว่า เรื่องไหนต้องไปศาลแรงงาน

by | Apr 29, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล
ศาลแรงงาน

“มีเรื่องแล้ว มีเรื่องแล้ว” เสียงตะโกนดังออกมาจากห้องแต่งตัว หลายคนรีบตามเสียง ไปเพราะอยากรู้ว่าเกิดเรื่องอะไร แน่ละครับ เหตุการณ์ทำนองนี้อาจจะเกิดขึ้นในสถานที่ทำงานของเราก็ได้ เรารู้แค่ว่ามีเรื่อง แล้วรู้หรือไม่ว่า เรื่องไหนต้องไปศาลแรงงาน และเรื่องไหนต้องไปกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน

ข้อพิพาทแรงงานเกี่ยวกับสิทธิ หรือเกี่ยวกับผลประโยชน์ ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีเกิดขึ้นมากมายร้อยแปดพันเรื่อง เมื่อมีเรื่องแล้ว การร้องเรียน หรือการขอความช่วยเหลือก็ตามมา แล้วเรื่องไหนต้องไปศาลแรงงาน เรื่องไหนต้องไปกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานกันนะ

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีอำนาจพิจารณาเรื่องดังต่อไปนี้


กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เช่น ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย เงินประกัน หรืออื่นใดที่เป็นตัวเงิน และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่

อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน ของศาลแรงงานมีดังนี้


– คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
– คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
– กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
– คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
– คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน
– ข้อพิพาทแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้ศาลแรงงานชี้ขาดตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์

สรุปก็คือ เรื่องเงินๆทองๆ เช่น ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย เงินประกัน หรืออื่นใดที่เป็นตัวเงิน สามารถไปร้องเรียนได้ที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานในเขตที่ท่านทำงาน ส่วนในชั้นศาลนั้นนอกจากจะมีอำนาจพิจารณาในเรื่องเดียวกันกับกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานแล้วยังมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้าง และเรื่องอื่น ๆตามที่ได้แจ้งไว้ด้านบนอีกด้วย

จะเห็นว่าพฤติกรรมของคนในแต่ละยุคนั้นก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันออกไป การที่พนักงานแต่ละ Gen เข้าใจความต่าง ช่วยเหลือ และทำงานด้วยกันได้ถือเป็นเรื่องดี เพราะนอกจากบรรยากาศในการทำงานจะดีแล้ว ยังช่วยให้ประสิทธิภาพในการการทำงานออกมาดีด้วย แล้วสุดท้ายก็จะส่งผลให้องค์กรเติบโตไปอย่างมีคุณภาพ

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN