Phone

Line

Wechat

Hide

เศรษฐกิจแบบนี้ นายจ้างปรับลดสวัสดิการโดยไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบได้หรือไม่

by | Apr 7, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล
สวัสดิการ

สวัสดีครับ ถ้าจะบอกว่านอกจากเงินเดือนแล้ว สิ่งที่ลูกจ้างหลายคนต้องการรองลงมาและมักจะถามในขั้นตอนการสอบสัมภาษณ์ก็คือสวัสดิการนั่นเอง

สวัสดิการ

คำว่า “สวัสดิการ” ในกฎหมายแรงงานไม่ได้กำหนดคำนิยามของคำว่า สวัสดิการไว้ ดังนั้นจึงพิจารณาตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า “ การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิต และสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล ให้ที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง ”

เมื่อกฎหมายไม่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของ “สวัสดิการ ” ไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้นนายจ้างจึงมีอิสระที่จะจัดสวัสดิการใด ๆ เป็นพิเศษให้แก่ลูกจ้าง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแรงงาน ส่วนมากนายจ้างจึงกำหนดเป็นข้อสงวนสิทธิ์ไว้ว่า นายจ้างสามารถที่จะแก้ไข เปลี่ยนแปลง ยกเลิก สวัสดิการที่จัดให้นี้ได้ตลอดเวลา เพื่อให้นายจ้างมีสิทธิปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามความเหมาะสม

ซึ่งหลายสถานประกอบการ นายจ้างได้จัดให้มีสวัสดิการให้กับลูกจ้างของตนไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพ แบบฟอร์มพนักงาน เงินกู้สวัสดิการ งานปีใหม่ กีฬาสี รถรับส่งลูกจ้าง เป็นต้น ซึ่งยังไม่รวมถึงสวัสดิการตามกฎหมายแรงงาน ได้แก่ กองทุนเงินทดแทน กองทุนประกันสังคม น้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำ ห้องส้วม ยาเวชภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น แต่ด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันอาจทำให้นายจ้างแบกรับค่าใช้จ่ายในการดูแลเรื่องสวัสดิการที่มีให้กับพนักงานไม่ไหว อย่างไรก็ตาม เมื่อนายจ้างได้กำหนดสวัสดิการให้แก่ลูกจ้าง สวัสดิการดังกล่าวถือเป็นสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์แล้วฯ ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าว

นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างได้ก็ต่อเมื่อ

1. การยื่นข้อเรียกร้องต่อลูกจ้าง ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ใน พรบ. แรงงานสัมพันธ์

2. เจรจาให้ลูกจ้างยินยอม

กล่าวโดยสรุป นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงสวัสดิการ (สภาพการจ้าง) โดยไม่ได้รับความยินยอมไม่ได้ เว้นแต่ นายจ้างจะเป็นการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง

การดำเนินการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

1. กำหนดระยะเวลาการสำหรับสวัสดิการนั้นให้ชัดเจน ซึ่งเมื่อครบกำหนดระยะเวลาแล้ว สวัสดิการก็จะสิ้นผลไป หรือ ก่อนที่จะประกาศให้สวัสดิการแก่พนักงาน นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างลงนามตกลงยินยอมให้ชัดเจนเป็นหนังสือว่า นายจ้างสามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิกสวัสดิการได้ หรืออาจจะกำหนดไว้เป็นเงื่อนไขหนึ่งในสัญญาจ้างแรงงานก็ได้

2. หากเป็นเปลี่ยนแปลงในทางที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างสามารถกระทำได้โดยลำพัง หากนายจ้างปรับหรือลดสวัสดิการ โดยไม่ชอบหรือนอกเหนือจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการกระทบต่อสิทธิของลูกจ้าง ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522

โดยสรุปนายจ้างไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงสวัสดิการโดยไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า ยกเว้นแต่สวัสดิการนั้นมีระยะเวลาที่สิ้นสุด หรือถ้าเปลี่ยนแปลงแล้วเกิดประโยชน์ต่อลูกจ้าง สวัสดิการนั้น ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ครับ

Facebook Fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN