Phone

Line

Wechat

Hide

เพื่อความอุ่นใจของนายจ้าง ขอหักเงินประกันในการทำงานไว้ได้หรือไม่

by | Apr 4, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล
หักเงินประกัน

“ เย้ เย้ ได้งานแล้ว ”

หลายคนอาจจะดีใจแบบนี้ เมื่อตนเองได้งานใหม่ แต่ไม่นานนัก ทางฝ่ายบุคคลกลับแจ้งว่า ต้องมีการหักเงินประกันการทำงาน 10,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ทำงานอยู่ และมีเงื่อนไขว่า “ หากพนักงานจะลาออกต้องยื่นใบลาออกล่วงหน้าตามระเบียบของบริษัทคือ 30 วัน หากพนักงานลาออกโดยไม่ยื่นใบลาออกล่วงหน้า 30 วันตามระเบียบ บริษัทก็จะไม่คืนเงินค้ำประกันให้ ”  ซึ่งเงินค้ำประกันนี้บริษัทจะหักจากเงินเดือน เดือนละ 1,000 บาท จนกว่าจะครบ 10,000 บาท โดยทั้งหมดนี้บริษัทได้ทำเป็นสัญญาให้พนักงานเซ็นยินยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว

คำถาม คือ บริษัทหักเงินประกันได้หรือไม่ ??

เป็นปกติครับ ที่ลูกจ้างต้องเกิดข้อสงสัยว่าเหตุการณ์แบบนี้ นายจ้างสามารถทำได้ด้วยหรือ เบื้องต้นต้องเข้าใจหลักทั่วไปก่อนว่า ” กฎหมายห้ามเรียก หรือ รับหลักประกัน” ตามกฎหมายแรงงานมาตรา 10 บอกไว้ชัดอยู่แล้วว่า ห้ามมิให้นายจ้างเรียก หรือ รับหลักประกันการทำงาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินอื่น หรือการค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะ หรือสภาพของงานที่ทำนั้น ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้

ซึ่งตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการเรียก หรือ รับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายจากการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ. 2551 ข้อ 4 กำหนดให้ลักษณะ หรือสภาพของงานที่นายจ้างอาจเรียกหลักประกันการทำงาน หรือหลักประกันความเสียหายจากการทำงานได้ โดยมีทั้งหมด 7 ตำแหน่งด้วยกันครับ

งานที่สามารถเรียกเก็บหลักประกันการทำงานได้

1. งานสมุห์บัญชี

2. งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน

3. งานควบคุมหือรับผิดชอบเกี่ยวกับวัตถุมีค่า คือ เพชร พลอย เงิน ทองคำ ทองคำขาวและไข่มุก

4. งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้าง หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง

5. งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน

6. งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ

7. งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคลังสินค้า ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่าทรัพย์ ให้เช่าซื้อ ให้กู้ยืม รับฝากทรัพย์ รับจำนอง รับจำนำ รับประกันภัย รับโอนหรือรับจัดส่งเงินหรือการธนาคาร ทั้งนี้ เฉพาะลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการที่ว่านั้น

กลับมาที่ประเด็นหลักที่ว่านายจ้างจะ “หักเงินประกันได้หรือไม่” ตามคำถามข้างต้น ถ้าเป็นงานที่ผ่านขั้นตอนที่กฎหมายให้เรียกหรือรับหลักประกันได้ การที่นายจ้างหักเงินหลักประกันนั้น ก็ต้องดูมาตรา 76 ซึ่งหลักการคือ “ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด” เว้นแต่หักเป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ตามมาตรา 76(4) ในการหักจะหักเกินร้อยละ 10 และจะหักรวมกันได้ไม่เกิน 1 ใน 5 ของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา 70 เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

หลักประกันการทำงานมีอะไรบ้าง ??

หลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานมี 3 ประเภท ได้แก่

1. เงินสด

ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันเป็นเงินสด จำนวนเงินที่เรียกหรือรับต้องไม่เกิน 60เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ

โดยเงินประกันซึ่งนายจ้างเรียกหรือรับไว้ลดลง เนื่องจากนำไปชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างตามเงื่อนไขของการเรียกหรือรับเงินประกัน หรือตามข้อตกลง หรือได้รับความยินยอมจากลูกจ้างแล้ว นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันเพิ่มได้เท่าจำนวนเงินที่ลดลงดังกล่าว ให้นายจ้างนำเงินประกันฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น โดยจัดให้มีบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคน และให้แจ้งชื่อธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น ชื่อบัญชีและเลขที่บัญชี ให้ลูกจ้างทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รับเงินประกันค่าใช้จ่ายใด  ๆ     ที่เกิดขึ้นในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้นายจ้างเป็นผู้ออก

2. ทรัพย์สิน

ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันเป็นทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่เรียกหรือรับเป็นหลักประกันได้ ได้แก่ทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้

  • สมุดเงินฝากประจำธนาคาร
  • หนังสือค้ำประกันของธนาคาร

ทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้นต้องมีมูลค่าไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ โดยให้นายจ้างเป็นผู้เก็บรักษาหลักประกันไว้ และห้ามมิให้นายจ้างแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้ลูกจ้างแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของนายจ้าง หรือของบุคคลอื่น

3. การค้ำประกันด้วยบุคคล

ค้ำประกันด้วยบุคคล ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้

ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน โดยการค้ำประกันด้วยบุคคล วงเงินค้ำประกันที่นายจ้างเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดต้องไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวัน โดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ ให้นายจ้างจัดทำหนังสือสัญญาค้ำประกันสามฉบับ โดยให้นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ค้ำประกันเก็บไว้ฝ่ายละฉบับ

ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันหลายประเภทรวมกันเมื่อคำนวณจำนวนมูลค่าของหลักประกันทุกประเภทรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN