Phone

Line

Wechat

Hide

วางแผนเกษียณยังไงให้มีเงินใช้ไปทั้งชาติ

by | Oct 17, 2022 | Uncategorized

เงินเกษียณสำหรับพนักงานบริษัท มีอะไรแล้วบ้าง

ถ้าเคยได้ลองคำนวณเงินที่ต้องใช้ยามเกษียณกันดูแล้วพบว่า โอ้โห! นี่เราต้องมีเงินตั้งหลายล้านเลยหรอเนี่ย ทำให้เริ่มรู้สึกท้อใจ วันนี้ผมมีตัวช่วยมาฝาก รู้หรือไม่ว่าสำหรับชาวมนุษย์เงินเดือนนั้น เรามีเงินเก็บสำหรับวัยเกษียณไว้แล้วโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว

1.เงินประกันสังคม

หากใครส่งประกันสังคมทุกเดือน รู้ไหมว่าเกินครึ่งเค้าหักเอาไว้เป็นเงินสำหรับ เกษียณให้เรา ใครที่เงินเดือน 15,000 บาท จะโดนหักประกันสังคมที่ 750 บาทต่อเดือน ซึ่งจะถูกกันไว้เป็นเงินเกษียณของเรา 450 บาท อาจจะฟังดูไม่เยอะใช่มั้ยครับ แต่ช้าก่อน หากเราในวันที่เราเกษียณเราได้ส่งประกันสังคมมานานถึง 15 ปี เรามีสิทธิได้รับเป็นเงินบำนาญครับ ใช่แล้วครับ เงินบำนาญแปลว่าเงินรายเดือนที่เราจะได้ไปตลอดในช่วงเกษียณอายุ
แล้วเงินบำนาญที่ว่ามันเท่าไรกันล่ะ ประกันสังคมจะจ่ายให้เรา 20% ของเงินเดือนสุดท้ายซึ่งต้องไม่เกิน 15,000 บาท หรือก็คือเราจะได้บำนาญ 3,000 บาทต่อเดือนนั่นเอง ยังไม่เยอะพอหรอครับ ยังครับยังไม่หมด ถ้าหากเราส่งประกันสังคมเกินกว่า 15 ปี ทุกๆ 1 ปีที่เกินมา ประกันสังคมจะคิดให้เราเพิ่มอีก 1.5% ครับ สมมติว่าเราเริ่มส่งประกันสังคมตอนอายุ 25 ปี แล้วไปเกษียณอายุตอน 60 ปี แปลว่าเราส่งประกันสังคมมาทั้งสิ้น 35 ปี หรือก็คือเกิน 15 ปีมา 20 ปี แปลว่าเราจะได้บำนาญเพิ่มอีก 1.5 x 20 = 30% กลายเป็น 50% ดังนั้นกรณีนี้เราจะได้เงินบำนาญ 50% ของ 15,000 บาท ซึ่งก็คือ 7,500 บาทต่อเดือนนั่นเอง หากใครส่งประกันสังคมทุกเดือน รู้ไหมว่าเกินครึ่งเค้าหักเอาไว้เป็นเงินสำหรับ เกษียณให้เรา ใครที่เงินเดือน 15,000 บาท จะโดนหักประกันสังคมที่ 750 บาทต่อเดือน ซึ่งจะถูกกันไว้เป็นเงินเกษียณของเรา 450 บาท อาจจะฟังดูไม่เยอะใช่มั้ยครับ แต่ช้าก่อน หากเราในวันที่เราเกษียณเราได้ส่งประกันสังคมมานานถึง 15 ปี เรามีสิทธิได้รับเป็นเงินบำนาญครับ ใช่แล้วครับ เงินบำนาญแปลว่าเงินรายเดือนที่เราจะได้ไปตลอดในช่วงเกษียณอายุ
แล้วเงินบำนาญที่ว่ามันเท่าไรกันล่ะ ประกันสังคมจะจ่ายให้เรา 20% ของเงินเดือนสุดท้ายซึ่งต้องไม่เกิน 15,000 บาท หรือก็คือเราจะได้บำนาญ 3,000 บาทต่อเดือนนั่นเอง ยังไม่เยอะพอหรอครับ ยังครับยังไม่หมด ถ้าหากเราส่งประกันสังคมเกินกว่า 15 ปี ทุกๆ 1 ปีที่เกินมา ประกันสังคมจะคิดให้เราเพิ่มอีก 1.5% ครับ สมมติว่าเราเริ่มส่งประกันสังคมตอนอายุ 25 ปี แล้วไปเกษียณอายุตอน 60 ปี แปลว่าเราส่งประกันสังคมมาทั้งสิ้น 35 ปี หรือก็คือเกิน 15 ปีมา 20 ปี แปลว่าเราจะได้บำนาญเพิ่มอีก 1.5 x 20 = 30% กลายเป็น 50% ดังนั้นกรณีนี้เราจะได้เงินบำนาญ 50% ของ 15,000 บาท ซึ่งก็คือ 7,500 บาทต่อเดือนนั่นเอง

2.เงินชดเชย

โดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ระบุว่านายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุ โดยจ่ายให้ตามอายุงาน หากทำงานมาครบ 3 ปี จะได้รับเงินชดเชย 180 วัน (6 เดือน) ทำงานมา 6 ปี จะได้รับเงินชดเชย 240 วัน (8 เดือน) ทำงานมา 10 ปี จะได้รับเงินชดเชย 300 วัน (10 เดือน) ทำงานมา 20 ปี จะได้รับเงินชดเชย 400 วัน (ประมาณ 13 เดือนกว่าๆ) สมมติว่าเราทำงานที่บริษัทเดิมมาเป็นระยะเวลา 12 ปีก่อนเกษียณ โดยมีเงินเดือนสุดท้ายอยู่ที่ 50,000 บาท แปลว่าเราจะได้รับเงินชดเชยเป็นเงินก้อนเท่ากับ 50,000 x 10 = 500,000 บาท เลยทีเดียว

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund ข้อนี้บางบริษัทอาจจะไม่มีนะครับ สำหรับใครที่มีก็ยินดีด้วย การจะเช็คว่าที่ทำงานเรามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือไม่ก็ง่ายๆ เลย ดูจากสลิปเงินเดือนเรานี่แหละว่ามีการหักเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือไม่ ทีนี้การคำนวณว่าวันเกษียณเราจะมีเงินส่วนนี้อยู่กี่บาทค่อนข้างซับซ้อนเล็กน้อย เพราะว่าการหักเงินเข้ากองทุนคิดเป็น % จากเงินเดือนของเรา แปลว่าถ้าเราเงินเดือนเพิ่มเราก็จะออมเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ และเนื่องจากเป็นกองทุนแปลว่ามีการนำเงินไปลงทุนในทรัพย์สินบางอย่างซึ่งบางที่ก็ให้เราเลือกเองได้ด้วยว่าอยากลงทุนแบบไหน ทำให้อัตราผลตอบแทนของแต่ละคนไม่เท่ากันอีก ส่วนนี้แนะนำว่าให้นักวางแผนการเงินช่วยคำนวณให้จะสะดวกและรวดเร็วกว่าครับ

3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund

ข้อนี้บางบริษัทอาจจะไม่มีนะครับ สำหรับใครที่มีก็ยินดีด้วย การจะเช็คว่าที่ทำงานเรามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือไม่ก็ง่ายๆ เลย ดูจากสลิปเงินเดือนเรานี่แหละว่ามีการหักเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือไม่ ทีนี้การคำนวณว่าวันเกษียณเราจะมีเงินส่วนนี้อยู่กี่บาทค่อนข้างซับซ้อนเล็กน้อย เพราะว่าการหักเงินเข้ากองทุนคิดเป็น % จากเงินเดือนของเรา แปลว่าถ้าเราเงินเดือนเพิ่มเราก็จะออมเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ และเนื่องจากเป็นกองทุนแปลว่ามีการนำเงินไปลงทุนในทรัพย์สินบางอย่างซึ่งบางที่ก็ให้เราเลือกเองได้ด้วยว่าอยากลงทุนแบบไหน ทำให้อัตราผลตอบแทนของแต่ละคนไม่เท่ากันอีก ส่วนนี้แนะนำว่าให้นักวางแผนการเงินช่วยคำนวณให้จะสะดวกและรวดเร็วกว่าครับ

เกษียณ

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN