Phone

Line

Wechat

Hide

เมื่อองค์กรเปลี่ยนตัวนายจ้าง ถ้าลูกจ้างไม่ยอมจะเปลี่ยนตัวนายจ้างได้หรือไม่

by | Mar 21, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล
เปลี่ยนตัวนายจ้าง

สวัสดีครับ ช่วงนี้หลายองค์กรมีการ Take over กันค่อนข้างมาก แน่นอนไม่ว่าจะเปลี่ยนตัวนายจ้าง หรือ CEO แต่ลูกจ้างหรือคนส่วนมากในองค์กรก็ยังคงจะเป็นคนเดิม ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าแล้วแบบนี้ลูกจ้างจะขอไม่เปลี่ยนตัวนายจ้างได้หรือไม่เพื่อความไม่สับสน เรามาดู พรบ. คุ้มครองแรงงานกันครับ

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ในกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวนายจ้าง

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 13 กำหนดว่า “ในกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวนายจ้าง หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลและมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด หากมีผลทำให้ลูกจ้างคนหนึ่งคนใดไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ การไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างคนนั้นด้วย และให้สิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมคงมีสิทธิต่อไป   โดยนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ”

และมาตรา 118 วรรคสอง กำหนดว่า “การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน และไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป”

หลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด

  • การเปลี่ยนตัวนายจ้างตามกฎหมายแรงงานแก้ไขใหม่ว่า ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ดังนั้น ประเด็นนี้ก็ชัดเจนแล้วว่าการเปลี่ยนตัวนายจ้าง การโอนลูกจ้างไปยังนายจ้างใหม่ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากลูกจ้างไม่ยอมก็ไม่สามารถทำได้
  • การเปลี่ยนตัวนายจ้าง กฎหมายกำหนดให้นายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่เดิมของลูกจ้าง หมายความว่า ค่าจ้าง สวัสดิการ วันหยุด หรือ ระเบียบเดิมที่นายจ้างเดิมมีอยู่อย่างไร นายจ้างใหม่ก็ต้องมีหน้าที่ปฏิบัติกับลูกจ้างต่อไปเช่นเดิม
  • ส่วนประเด็นว่าการเปลี่ยนตัวนายจ้างเป็นการเลิกจ้างหรือไม่นั้น ตามกฎหมายแรงงานให้ความหมายของคำว่าเลิกจ้างไว้ว่า “การเลิกจ้าง” หมายถึง การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้

จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การเปลี่ยนตัวนายจ้างใหม่จะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 118 วรรคสองนี้ประกอบด้วย หมายความว่า ถ้านายจ้างใหม่ยังให้ลูกจ้างทำงานต่อไป นับอายุงานให้ต่อเนื่อง และจ่ายค่าจ้างให้ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง แต่ถ้านายจ้างใหม่จ่ายค่าจ้างหรือจัดสวัสดิการให้น้อยกว่านายจ้างเดิม ลูกจ้างก็สามารถฟ้องให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องได้ แต่ถ้านายจ้างใหม่ต้องให้ลูกจ้างเขียนใบสมัครใหม่ ไม่นับอายุงานให้ต่อเนื่องจากนายจ้างเดิม อย่างนี้ถือว่านายจ้างเก่าได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว และเมื่อเลิกจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างด้วย

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM 

en_USEN