Phone

Line

Wechat

Hide

ลูกจ้างลาออกไม่แจ้งลาออก ไม่บอกล่วงหน้า  หรือแจ้งไม่ครบ 30 วัน ระวังจะเจอสิ่งนี้

by | Mar 3, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล
ลาออกไม่แจ้งลาออก

 “อยู่ดี ๆ ลูกน้องผมก็เดินมาขอลาออก ทั้งๆ ที่เป็นลูกน้องที่ผมโปรโมทแทบทุกทาง ทั้งรัก ทั้งสนิท แบบนี้ผมจะทำยังไงดี” นี่คืออีกคำถาม คำถามหนึ่งของลูกค้าที่ใช้บริการระบบ GeeHRM ของ จีรังฯ

สวัสดีครับชาว HR ทุกท่าน คาดว่าช่วงนี้หลายองค์กรก็คงจะได้รับผลกระทบ จากวิกฤติเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 เพราะนอกจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จะไม่สามารถทำได้เต็มที่ ผลกระทบที่ว่านี้นอกจากมีผลต่อองค์กรแล้ว ยังกระทบระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมอีกด้วย ซึ่งแน่นอนผลกระทบนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และขยายเป็นวงกว้าง ผู้ประกอบการหรือองค์กรต้องปรับลดจำนวนพนักงาน ในทางกลับกันพนักงานที่มีความสามารถ และมีกำลังก็เกิดการรวมตัวกันเพื่อสร้างธุรกิจของตนเองขึ้นมา จากแรงกระเพื่อมดังกล่าว ส่งผลในทางอุตสาหกรรมและการส่งออกคงต้องมีผลกระทบแน่ ไม่มากก็น้อย นั่นหมายรวมถึงว่าการลาออก และมีแนวโน้มอาจมีการเลิกจ้างลูกจ้าง

               อย่างที่กล่าวมาแล้ว เมื่อมีความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร ทันที่พนักงานมองเห็นช่องทางที่จะขยับขยาย หรือมีองค์กรอื่นจ้างงานที่มีรายรับมากกว่าเดิม หรือแม่แต่แบกรับค่าใช้จ่ายในเมืองไม่ไหว จำเป็นที่จะต้องลาออกเพื่อย้ายกลับไปอยู่ต่างจังหวัด เรื่องพวกนี้ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ ถ้าลาออกแบบบอกกันก่อน ให้นายจ้าง และ HR ได้มีเวลาเตรียมตัวก็ไม่น่ากังวลอะไร แต่ถ้าเล่นมาบอกกันแบบบอกวันนี้ สัปดาห์หน้าไม่มาแล้ว อันนี้สิครับที่น่ากังวล

  • ทำความรู้จักกฎหมายแรงงาน
  • กรณีคาบเกี่ยว
  • ฟ้องได้ไหม
  • แนวทางป้องกันปัญหา

ทำความรู้จักกฎหมายแรงงาน

มาว่ากันเนื้อๆ ด้วยเรื่องของกฎหมายกันก่อนครับ ถ้าจะเอ่ยถึงกฎหมายแรงงานที่เทียบเคียงกับกรณีนี้ ทางจีรังก็จะของยกเนื้อหามาจากมาตรา 17 วรรค 2  โดยมาตรานี้ได้กำหนดไว้ว่า นายจ้าง หรือลูกจ้าง หากจะยกเลิกสัญญาต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบ 1 งวดค่าจ้าง การที่ลูกจ้าง ไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ หากนายจ้างพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่ ทำให้เกิดความเสียหาย…

กรณีคาบเกี่ยว

               ทีนี้มันจะมีอีกประเด็นนะครับ คือ การแจ้งผ่านระบบโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่นับ Line นะครับ) ถ้าจะนับก็น่าจะเริ่มจากอีเมล์ ไปจนถึงระบบของ HR ที่บริษัทนั้น ๆ ใช้งานอยู่ ในประเด็นของอีเมล์เราจะไม่ขอกล่าวถึง เนื่องจากเป็นข้อตกลงภายในเรื่องการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในแต่ละองค์กรจะมีระเบียบของตัวเอง นั่นก็แปลว่าน่าจะต้องว่ากันตามระเบียบนั้น ๆ เลยครับ

แต่ในส่วนของระบบโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะขอเรียกว่าโปรแกรม HR นั้น ซึ่งในประเด็นนี้หลายองค์กรเกิดปัญหาขึ้นภายในแบบที่เรียกว่าแก้ไม่ตก โดยปัญหาก็คือระบบของโปรแกรมไม่ได้เอื้อต่อเหตุการณ์เหล่านี้ ซึ่งส่วนมากทั้งวัฒนธรรมองค์กรแต่ละที่ก็มีความแตกต่างกันมากพอสมควร การจะเขียนโปรแกรมให้ครอบคลุมทั้งหมดเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าจะจัดการปัญหานี้เราควรต้องหาโปรแกรม HRM ที่มีปะสิทธิภาพมาใช้งาน ถึงจะเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว

แล้วถ้าเค้าลาออกผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กล่าวมาข้างต้น กฎหมายแรงงานจะครอบคลุมหรือไม่ ต้องบอกว่าการลาออกไม่ว่าจะด้วยรูปแบบไหน ลูกจ้างจำเป็นที่จะต้องได้รับการยืนยันจากนายจ้างก่อน ถ้าจะบอกว่า ผมส่งอีเมล์ขอลาออกไปแล้ว” หรือ “ผมกดขอลาออกในระบบไปแล้ว ใส่เหตุผลแล้ว” แบบนี้จะถือว่าการลาออกนั้นยังไม่สมบูรณ์นะครับ

ฟ้องได้ไหมถ้าลาออกโดยไม่แจ้ง

ในทางปฏิบัติแล้ว ฟ้องได้ครับเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายตามกฎหมาย โดยในประมวลกฎหมาย ได้ระบุไว้ว่า การที่ลูกจ้าง ไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ หากนายจ้างพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่ ทำให้เกิดความเสียหาย ที่สำคัญต้องเป็นผลโดยตรงจากการไม่บอกกล่าวของลูกจ้าง และความเสียหายนั้นประเมินออกมาเป็นมูลค่าที่เป็นตัวเงินได้จริง นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นจากลูกจ้างได้  อ้างอิงตามฎีกา 10614/2558 หรือฟ้องผิดสัญญาตามมาตรา 17 ครับ

แนวทางป้องกันปัญหา

               จริง ๆ แล้วการป้องกันปัญหา ในสถานกาณณ์เช่นนี้ แบบที่ดีที่สุดก็คือนายจ้างกับลูกจ้างควรจะหาเวทีจับเข่าคุยกัน ถึงทางออกที่จะไม่กระทบกับทุกฝ่าย และไม่ผิดกฎหมายครับ

Tag : ลูกจ้างลาออก,ลาออก,เรียกค่าเสียหาย,กฎหมายแรงงาน,คดีความ,จีรัง, GeeHRM, HR

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM

en_USEN