Phone

Line

Wechat

Hide

Brownout Syndrome ภัยเงียบที่น่ากลัว

by | Apr 8, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล
Brownout Syndrome

“เบื่อจัง”

“ไม่อยากทำงานเลย”

คำพูดแบบนี้ อาจจะไม่ใช่เพียงคำพูดธรรมดา ๆ นะครับ เพราะมันอาจจะเป็นสัญญาณบอกถึงอะไรบางอย่างที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่ดี หรือที่เค้าเรียกกันว่าภาวะ Burnout ครับ

Burnout Syndrome

Burnout Syndrome ที่เป็นเพียงแค่การเหนื่อยทางกายที่มาจากความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการถูกกดดันมาเป็นระยะเวลานานในสถานที่ทำงานด้วยรูปแบบของความคาดหวังที่สูงเกิดกว่าตัวเองจะรับไหวจึงทำให้หมดไฟในการทำงานและเป็นสาเหตุที่คนวัยทำงานพบเจอกันเป็นอย่างมาก แต่วันนี้เรามีศัพท์ใหม่ที่ทุกคนอาจจะไม่เคยได้ยินที่เป็นภัยเงียบที่น่ากลัวอีกอย่างหนึ่ง คือภาวะ Brownout Syndrome

Brownout Syndrome

               ภาวะ Brownout Syndrome คือ ภาวะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับคนทำงานที่รู้สึกไม่มีความสุข เบื่อหน่าย และทุกข์ทรมานกับเงื่อนไขและระบบบางอย่างขององค์กร ซึ่งคนที่มีอาการ Brownout ยังสามารถทำงานได้อย่างปกติ เพียงแต่ความผูกพันธ์ของพนักงานกับองค์กรจะค่อยๆ ลดน้อยลง เกิดการถอยห่างจนกระทั่งลาออกจากองค์อกรไปในที่สุด

อะไรคือสาเหตุของอาการ brownout

แม้ว่าเราจะไม่รู้ว่าใครกำลังมีอาการนี้อยู่ก็ตาม แต่เรายังสามารถรู้ถึงสาเหตุของอาการ Brownout ได้ และลองเทียบดูว่าองค์กรเรากำลังทำข้อใดข้อหนึ่งที่สุ่มเสี่ยงทำให้พนักงานมีอาการนี้อยู่หรือเปล่า

1.เงื่อนไขในการทำงานเยอะ จุกจิกเกินไป หลายต่อหลายครั้งที่คนเก่งในที่ทำงานต้องได้รับผลกระทบจากกฏระเบียบบางอย่างของบริษัทที่ต้องการออกมาเพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนหมู่มาก ทำให้คนเก่งหลายๆครั้งรู้สึกว่าองค์กรควบคุมมากเกินไป จนขาดอิสระในการทำงาน และในที่สุดก็ส่งผลให้พวกเขาเบื่อหน่ายในองค์กร

2.งานกินเวลามากเกินไป การที่บริษัทหรือองค์กรไม่มีการจัดสรรเวลาที่ดี ทำให้ตัวพนักงานเกิดความเหนื่อยล้าสะสม ถ้าหากเป็นครั้งคราวก็ยังไม่เท่าไรเพราะเมื่อพักผ่อนก็ยังหาย แต่หากเป็นการทำงานจนรู้สึกไม่มีเวลาพักผ่อนเลย ยิ่งโดยเฉพาะกับคนเก่งในองค์กรที่ต้องเข้าไปช่วยในหลายๆส่วนงาน มีงานที่ต้องทำอยู่เยอะแยะไปหมด ความกดดันนี้เองที่ทำให้อาการ Brownout เกิดได้ง่ายมากขึ้น

3.ไม่เห็นค่าของคนทำงาน บ่อยครั้งเราสามารถทำผลงานที่สำเร็จได้ตลอด แต่กลับถูกหัวหน้าหรือองค์กรมองข้ามไป การไม่ตระหนักและชื่นชมพนักงานนั้นจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าไม่มีคุณค่า และเกิดอาการหมดใจได้ง่ายๆ ยิ่งโดยเฉพาะหากองค์กรตอบแทนพนักงานในลักษณะที่ให้ผลตอบแทนเท่ากันหมด คนเก่งก็จะรู้สึกว่าไม่รู้จะทำดีไปทำไม เพราะผลลัพธ์ที่ออกมาก็ได้เท่ากันอยู่ดี แต่ครั้นจะให้ลดมาตรฐานงานตัวเองก็ทำไม่ได้ สุดท้ายการตัดสินใจลาออกจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดที่พวกเขาเลือกแทน

4.พนักงานไม่รู้เป้าหมายหรือมิชชั่น ในปัจจุบันยังมีพนักงานจำนวนมากที่ต้องทำงานตามสั่ง กล่าวคือได้รับงานมา ก็ทำให้จบและรับงานใหม่ต่อไป แต่สุดท้ายพนักงานกลับไม่รู้เลยว่าต้องทำไปเพื่ออะไร และงานที่พวกเขาทำนั้นมีส่วนช่วยองค์กรอย่างไร ซึ่งคนเก่งจำนวนมากไม่ได้ต้องการแค่ทำงานให้จบ แต่ต้องการทำงานที่พวกเขารู้สึกว่ามีคุณค่าด้วย ดังนั้นแล้วเป้าหมายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ

5.ไม่มีความท้าทาย งานที่ดีคืองานที่ท้าทาย ยิ่งโดยเฉพาะกับพนักงานระดับท๊อปที่ไม่ได้ชื่นชอบงานที่ง่ายดาย และต้องการวัดความสามารถตัวเองอยู่ตลอดเวลา เมื่อเจองานที่ไม่มีความหมายบ่อยครั้งเข้า ก็จะเกิดเป็นความน่าเบื่อจำเจเข้ามาแทนที่ และการทำงานก็ไม่สนุกอีกต่อไป

Brownout ไม่คงอยู่ตลอดไป

อย่างไรก็ตามภาวะ Brownout อาจเกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับความร่วมมือจากองค์กร และเพื่อนร่วมงานที่ช่วยผลักดันปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรหรือระบบการทำงาน เปิดใจพูดคุยถึงความต้องการในการทำงาน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อเติมไฟให้มีกำลังใจต่อไป ส่วนพนักงานก็ต้องปรับตัวเช่นกัน เรามี 4 แนวทางปฏิบัติง่าย ๆ เพื่อรับมือกับภาวะ Brownout ดังนี้

1. สนับสนุนเป้าหมายซึ่งกันและกัน การทำงานโดยไม่สามารถทำตามเป้าหมายของตัวเองได้ อาจทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า นายจ้างควรหาวิธีสนับสนุนเป้าหมายของพนักงานให้เขาสามารถทำมันได้อย่างเต็มที่ ลองถามตัวเองดูว่าคุณเปิดใจพูดคุยกับพนักงานเกี่ยวกับสิ่งที่สำคัญกับเขาบ่อยแค่ไหน

2. จดจำความสำเร็จ การมีผลงานที่ดีและมีคนเห็นถึงความสามารถนั้น จะเป็นแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานได้ ดังนั้นจึงควรแสดงให้เห็นว่าคุณใส่ใจในความสำเร็จของพนักงาน ซึ่งอาจจะแสดงความใส่ใจด้วยการให้รางวัล เพื่อให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าต่อองค์กร

3. แสดงความห่วงใย นายจ้างควรมีความเข้าอกเข้าใจต่อพนักงาน โดยมีความสมดุลระหว่างความเป็นมืออาชีพกับความเป็นคน เพราะคงไม่มีใครอยากทำงานในที่ที่สนใจแต่ผลลัพธ์ของการทำงานแต่ไม่สนใจความรู้สึกของพนักงาน

4. สนับสนุน Passion ในการทำงาน เมื่อเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถทำตามสิ่งที่ตนเองชอบหรือสนใจในที่ทำงานได้ ก็จะทำให้เขารู้สึกสนุกไปกับการทำงานมากกว่าเดิม แล้วยังสามารถทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

การทำงานย่อมมาพร้อมกับความเครียด แต่นั่นไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล หากคนทำงาน รวมถึงองค์กรเองมีวิธีการจัดการความเครียดให้คนทำงานอย่างเหมาะสม ดังนั้นแล้วบริษัทจึงควรเริ่มให้ความสนใจและพูดคุยถึงความต้องการในการทำงานร่วมกัน รวมถึงความต้องการส่วนตัว เพื่อลดอาการหมดใจ เพิ่มไฟให้พนักงานมีกำลังใจในการทำงาน และสร้างความสัมพันธ์ของพนักงานกับองค์กรให้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะพนักงานถือเป็นสมบัติล้ำค่าที่สุดขององค์กรที่จะช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรเติบโตต่อไปได้

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN