Phone

Line

Wechat

Hide

เมื่อเสี่ยงกับ COVID–19 ไหนจะต้องกักตัว ไหนจะต้องรักษาตัว นายจ้างและลูกจ้างจบกันที่ตรงไหน

by | Mar 15, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล
เสี่ยงCOVID–19 เสี่ยงตกงาน

นับวันสถานการณ์การแพร่การระบาดของ COVID–19 ก็ทวีความรุนแรงขึ้นทุกที ในขณะนี้ยังคงมีความน่าเป็นห่วง แม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนเพื่อลดความเสี่ยง แต่เราคนทำงานก็ยังคงต้องออกมาเผชิญกับเชื้อโรคอยู่ดี

แล้วหากเป็นกลุ่มเสี่ยง COVID–19 หละ??

กรณีที่บริษัทมีคำสั่งให้ลูกจ้างกักตัว เป็นคำสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถือว่าการปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างไม่ได้ กรณีนี้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง หรือนายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างให้หยุดงานโดยไม่รับค่าจ้าง (Leave without Pay) หรือให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างตามหลักสัญญาต่างตอบแทน ที่ว่าไม่ทำงาน นายจ้างก็ไม่จ่ายค่าจ้าง (No Work No Pay)  หรือหากลูกจ้างมีสิทธิในการลาป่วยอยู่ ก็ให้ใช้สิทธิในการลาป่วย หรือมีสิทธิในการลาพักร้อน ก็ใช้สิทธิลาพักร้อน ตามแต่ตกลงกัน หรือหากนายจ้างพิจารณาจากหน้าที่ที่รับผิดชอบของลูกจ้างแล้ว เนื้องานมีความสำคัญต้องทำอย่างต่อเนื่อง และลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านได้ ก็อาจจะตกลงกันเป็น Work From Home ซึ่งเงื่อนไขนี้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างตามวันทำงานจริง

ส่วนในกรณีที่บริษัทไม่จ่ายค่าจ้างหละ??

ลูกจ้างสามารถขอเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากประกันสังคม โดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน  ซึ่งเงื่อนไขนี้บริษัทสามารถทำได้เมื่อลูกจ้างที่มีความเสี่ยงเพราะใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ หรือที่ทำงานมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 โดย “แพทย์” หรือ “เจ้าหน้าที่สาธารณสุข” ออกเอกสารให้ลูกจ้างกักตัวเพื่อสังเกตอาการ หรือนายจ้างต้องยื่นหนังสือรับรองการหยุดงานของลูกจ้างอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

แล้วหากต้องไปรักษาตัวหละ??

สามารถใช้สิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 32 เมื่อลูกจ้างแจ้งการใช้สิทธิลาป่วยโดยชอบต่อนายจ้างแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยตลอดระยะเวลาที่ลาปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 57 และหากนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุลูกจ้างติดเชื้อCOVID-19 ต้องจ่ายค่าเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างตามกฎหมาย เพราะเหตุลูกจ้างติดเชื้อCOVID-19 มิได้ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้าง และมิใช่การกระทำผิดวินัยของลูกจ้าง การติดเชื้อจากโรคระบาดที่แพร่กระจายในวงกว้างนี้หากเลิกจ้างลูกจ้างจึงมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN