Phone

Line

Wechat

Hide

5 ทักษะ HR รับมือทุกคนในองค์กร

by | Nov 28, 2022 | Uncategorized

เตรีมพร้อม HR รับมือทุกคนในองค์กร ปีที่ผ่านมาภาวะโควิดทำพิษได้เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจอย่างแรง แน่นอนว่าส่งผลกระทบแรงมาถึงธุรกิจด้วย หลายบริษัททั่วโลกต้อง เจอกับศึกหนักในการทำงานและการบริหารจัดการคนในองค์กร ความรับผิดชอบของ HR จึงถูกโฟกัสมากขึ้น

ถึงแม้ว่า COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อพนักงาน บางบริษัทต้องเลิกจ้างพนักงานที่มีอยู่และงดจ้างพนักงานใหม่ แต่ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่ต้องการเพิ่มจำนวนพนักงานเนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการของลูกค้ามีมากขึ้น เป็นเรื่องท้าทายของ HR แต่ละบริษัทที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองว่าจะสามารถจัดการและขับเคลื่อนองค์กรให้ไปต่อในยุค Future Normal ที่ขยับใกล้เข้ามาได้หรือไม่

การทำงานด้วยทักษะเดิม ๆ นั้นไม่ Work อีกต่อไป HR ยุคใหม่ต้องรู้จักเตรียมพร้อม ปรับรูปแบบการทำงานใหม่ เพื่อพัฒนาตัวเองและองค์กรให้อยู่รอด เรามาดูกันครับว่า 5 แนวโน้มในอนาคตและ 5 ทักษะที่เหมาะสมต่อการทำงาน สำหรับ HR มีอะไรบ้างและ ต้องเตรียมพร้อม HR รับมือทุกคนในองค์กร แบบไหน

เตรียมพร้อม HR รับมือทุกคนในองค์กร

HR รับมือทุกคนในองค์กร
  1. Work Remoting – การทำงานผ่านทางไกล หรือที่ไหนก็ได้ สถานการณ์บังคับจากช่วงโควิดและนโยบายภาครัฐทำให้หลายบริษัทต้องประกาศให้พนักงานทำงานอยู่ที่บ้าน (Work from home) เป็นระยะเวลาหนึ่ง บริษัทต่าง ๆ อาจจะกำลังชินกับการให้พนักงานทำงานที่บ้าน มีแนวโน้มว่าบ้านจะกลายเป็นเหมือนออฟฟิศของพนักงานในอนาคต “Home is the new office” บริษัทใหญ่ระดับโลกอย่าง Twitter, Square, และ Capital One โอเคกับการให้พนักงานทำงานที่บ้านได้ตลอดไปแม้ว่าโควิดจะเลิกระบาดแล้ว ส่วน Microsoft ก็สนับสนุนให้ที่ทำงานเป็น Hybrid Workplace พนักงานจะทำงานที่บ้านหรือจะทำที่ไหนก็ได้ แต่นี่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น โดยภาพรวมพบว่ามีบริษัทจำนวนมากที่ยังไม่พร้อมที่จะให้การทำงานที่บ้านเป็นเรื่องปกติหากต้องปรับให้เป็นรูปแบบการทำงานในระยะยาว เนื่องจากโครงสร้างขององค์กรไม่อำนวยสะดวก และความกังวลของหัวหน้าว่าประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหรือลูกน้องอาจลดลง แต่นโยบายนี้ก็มีข้อดีเพราะอาจเป็นจุดขายดึงดูดพนักงานใหม่ๆ ที่ต้องการความยืดหยุ่นของการทำงาน เพราะเขาเชื่อว่าศักยภาพของการทำงานไม่ได้หยุดอยู่แค่ที่ทำงาน หลายบริษัทจึงได้เริ่มลงทุนกับเทคโนโลยีเพื่อให้เข้ามาช่วยตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลการสื่อสารภายในองค์กร ตรวจสอบวันเวลาเข้าออกและเช็คพิกัดของพนักงานได้แม้ว่าจะต้องอยู่กันคนละที่ ตรวจสอบแม่นยำ ทำให้ข้อจำกัดลดลง สะดวกต่อ Flow การทำงานขององค์กรมากขึ้น และสามารถเตรียม
  2. Employee Experience – การจัดการองค์กรของ HR ช่วงก่อนโควิดระบาดจนถึงตอนนี้นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในช่วงโควิดระบาดแรกๆ แต่ละองค์กรต้องสัมภาษณ์พนักงานเข้าใหม่ผ่านออนไลน์ มีการประชุมงานแบบ Virtual Meeting ไม่ว่าจะผ่าน Zoom หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ หลายคนคิดว่าเหตุการณ์แบบนี้อาจทำให้พนักงานในองค์กรขาดการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กันในองค์กร แต่จริง ๆ แล้วการแพร่ระบาดของโควิดนั้นส่งผลดีต่อประสบการณ์การทำงานของพนักงาน ในสหรัฐอเมริกามีผลสำรวจว่าการทำงานระยะไกลจากที่บ้านช่วยเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมที่ดีในหมู่เพื่อนพนักงานด้วยกัน ขณะที่บางบริษัทก็พบว่าการประชุมพนักงานออนไลน์แบบเสมือนจริงที่กระตุ้นให้เกิดการสนทนากันแบบจริง ๆ ก็มีประสิทธิภาพไม่ต่างกับการเจอหรือพูดคุยกันแบบต่อหน้า แม้ว่าจะกลับมาทำงานที่ออฟฟิศกันแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงไหน การสื่อสารยังคงเป็นเรื่องสำคัญขององค์กร HR ต้องปรับรูปแบบการสื่อสารที่จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานได้ เช่น อาจสร้างพื้นที่การทำงานที่หลากหลายให้เกิดขึ้นภายในองค์กร Sharing Space ที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของพนักงาน หรือการจัดการ Work Life Balance ให้พนักงานประทับใจและพึงพอใจ เพราะประสบการณ์ที่ดีนั้นส่งผลโดยตรงต่อภาพรวมขององค์กร
  3. Employee Health and Well-being – สุขภาพจิตและสุขภาพกายของพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะมีโควิดอยู่หรือไม่ ก็ควรใส่ใจกับสุขภาพของพนักงานให้มากขึ้น เพราะสุขภาพและความรู้สึกที่ดีของพนักงานนั้นเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ที่ดีในการทำงานเช่นกัน การลงทุนเพื่อผลประโยชน์ของพนักงานมีแนวโน้มที่จะสร้างความภักดีของพนักงานและเพิ่มการมีส่วนร่วมได้ หลายบริษัทจึงหันมาห่วงใยสุขภาพของพนักงานมีการเตรียมพร้อมกลยุทธ์การดูแลสุขภาพของพนักงานมากขึ้น ในปี 2021 มีแผนที่จะเปลี่ยนแปลงโปรแกรมสวัสดิการของบริษัท นอกจากทำประกันสุขภาพอาจมีการสมัครสมาชิกฟิตเนสเข้ามาเพิ่มให้ด้วย รวมไปถึงดูแลด้านโภชนาการอาหารการกินด้วย และพร้อมทั้งมี Solution สำหรับให้บริการสุขภาพอารมณ์และสุขภาพจิตออนไลน์ หรืออาจเพิ่มทางเลือกให้พนักงานสามารถเลือกสวัสดิการที่ตัวเองสนใจหรือต้องการได้ด้วยตัวเอง ที่เหลือบริษัทซับพอร์ทให้ตามงบประมาณที่มี เป็นการช่วยเพิ่ม Employee Experience ได้อีกด้วย
  4. Data-driven – การขับเคลื่อนการทำงานด้วย Data เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดด จากสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้งบประมาณต้องเปลี่ยนแปลง ขณะที่พนักงานในองค์กรก็กำลังเปลี่ยนไป เป็นความท้าทายใหม่ในการปลูกฝังวัฒนธรรมขององค์กร เมื่อก่อนฝ่าย HR มักมีข้อมูลมหาศาลแต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานจริง หรือเพียงแต่นำข้อมูลที่มีกรอกใส่ในตารางเพื่อนำไปรวมกับผลงานโดยรวมของบริษัทเท่านั้น แต่ในปีหน้า HR จะต้องรีบปรับตัวและพึ่งพาข้อมูลในการทำงานมากที่สุด เพราะความน่าเชื่อถือของข้อมูลส่งผลให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพ ตั้งแต่การตัดสินใจรับพนักงานใหม่เข้าทำงาน สรรหาคนที่เหมาะสมกับงาน การจัดการทรัพยากรให้กับพนักงานในองค์กร การมอบเครื่องมือที่จะช่วยให้พวกเขาได้รับประโยชน์จริง ๆ รวมไปจนถึงการจัดสรรงบประมาณของบริษัท HR ต้องใช้ข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง ทั้งในและนอก อาจเป็นข้อมูลที่ได้มาจากการปฏิสัมพันธ์กับพนักงานโดยตรง หรือผ่านแพลทฟอร์มต่าง ๆ  ที่องค์กรใช้เก็บรวบรวมข้อมูลพนักงานไว้ เพื่อนำมาวิเคราะห์และให้ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรม นิสัย ความชอบ แรงจูงใจของคนในองค์กรแบบลึกซึ้งยิ่งขึ้น อาจรวมไปถึงมีโอกาสทำนายพฤติกรรมของพนักงานในอนาคตได้อีกด้วย
  5. Digital Tracking – เทคโนโลยีการตรวจสอบและติดตามงานแบบดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็ว และจะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพสูงในอนาคต เมื่อการทำงานแบบคนละที่ของพนักงานยังเป็นเรื่องยากสำหรับหลายองค์กร และทำให้เกิดประเด็นหลายอย่างระหว่างนายจ้างกับลูกน้องตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เป็นเรื่องปกติที่หัวหน้างานจำนวนมากต้องการติดตามและตรวจสอบพนักงานของตัวเอง หลายองค์กรได้ลงทุนกับเครื่องมือและเทคโนโลยีที่จะช่วยตรวจสอบพฤติกรรมประจำวันของพนักงานที่จะช่วยให้จัดระเบียบการทำงานในองค์กรได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลายเครื่องมือติดตามอาจเป็นเรื่องมาตรฐานและมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกตรวจสอบการเข้างาน Check in / Check out แจ้งเตือนข้อมูล ไปจนถึงสามารถตรวจสอบการทำงานพนักงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN