Phone

Line

Wechat

Hide

วิธีรับมือเมื่อวิกฤติวัยกลางคนทำให้เราหมดไฟ หมดกำลังใจในการทำงาน (Mid-life crisis)

by | May 6, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล

Mid-life crisis หรือวิกฤติการณ์ของวัยกลางคน ที่รู้สึกหมดไฟ หมดกำลังในการทำงาน พบได้ในวัยกลางคนที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ในคนวัยนี้คือคนที่นึกถึงความมั่นคงในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ส่วนใหญ่ไม่คิดจะเปลี่ยนงาน แต่การทำอะไรซ้ำ ๆ ในสภาพแวดล้อมเดิมทำให้พวกเขารู้สึก “หมด Passion” ในการทำงาน จากเคยเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงก็กลับกลายมาเป็นคนที่ตื่นนอนมาด้วยความเบื่อหน่าย เพียงแค่จะมาตอกบัตรเข้างานและทำงานให้ครบเวลาเท่านั้น เพื่อรับมือกับปัญหา Midlife Crisis นี้ เราไปรู้จักกับสิ่งนี้ให้มากขึ้น พร้อมกับวิธีรับมือและเติมเชื้อไฟ เพื่อให้ Passion ในการทำงานกลับมาลุกโชนได้อีกครั้ง

  สาเหตุของภาวะ วิกฤติการณ์ของวัยกลางคน Mid-life crisis

  • แรงกดดันจากสังคม ที่มีบรรทัดฐานและมายาคติที่ว่า พอถึงวัยนี้ชีวิตควรจะเป็นอย่างไร ต้องประสบความสำเร็จแค่ไหน ต้องก้าวหน้าในอาชีพอย่างไรบ้าง รวมถึงความรับผิดชอบที่มากขึ้น ก็จะสร้างแรงกดดันให้กับคนในช่วงวัยกลางคนได้เหมือนกัน
  • ร่างการเริ่มเสื่อม สุขภาพไม่แข็งแรงเหมือนตอนหนุ่ม ๆ สาว ๆ มีการเปลี่ยนแปลงของร่างการที่ชัดเจน หรือบางคนก็อาจจะอยู่ในภาวะวัยทอง ที่ฮอร์โมนเริ่มไม่ปกติ ทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียว อ่อนล้า สิ้นหวัง จนอาจทำให้รู้สึกแย่กับตัวเองมากขึ้นทุกวัน
  • ไม่พอใจกับชีวิตตัวเอง รู้สึกไม่มีความสุขจนต้องดิ้นรนพยายามหาทางมีความสุขให้ได้ จนอาจจะเกิดความรู้สึกท้อ และเหนื่อยหน่ายกับชีวิต
  • อยากได้ความสดใสเหมือนช่วงวัยหนุ่มสาว เพราะชีวิตช่วงวัยกลายคน มันเป็นชีวิตเรียบ ๆ ไม่ค่อยมีเรื่องน่าตื่นเต้น อาจเพราะด้วยภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่ทำให้ขยับตัวได้ยาก จนทำให้ความตื่นเต้นในชีวิตค่อย ๆ ลดลงไป จนรู้สึกไม่พอใจ ชีวิตไม่สนุก สดใส และท้าทายเหมือนสมันที่อายุน้อยกว่านี้
  • สับสนในชีวิต เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่าชีวิตนี้ต้องการอะไรกันแน่ ที่ผ่านมาเรามีอะไรบ้าง จนทำให้เกิดความรู้สึกแง่ลบกับตัวเอง
  • เสียคนรัก เพื่อน หรือคนในครอบครัว ที่จะเริ่มทยอยเสียชีวิตลง ซึ่งอาจจะเกิดความรู้รับไม่ได้กับการสูญเสีย และเริ่มคิดกับตัวเองว่า ความตายอยู่ใกล้แค่เอื้อม
  • รู้สึกมีความสำคัญน้อยลง ซึ่งอาจเกิดจากการถูกลดบทบาทในที่ทำงาน หรือครอบครัว จนเริ่มเครียดและท้อแท้กับชีวิต

แม้ว่าจากการศึกษาจากหลายสำนักจะบอกว่าปัญหาวิกฤตวัยกลางคน ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ แต่ด้วยภาวะสังคมในปัจจุบัน ทำให้คนที่ประสบปัญหาวิกฤตวัยกลางคนมีเยอะขึ้นมาก ซึ่งถ้าไม่สามารถจัดการได้ จะเกิดผลกระทบระยะยาวที่จะนำไปสู่การพัฒนาเป็น “โรคซึมเศร้า” ได้ มาเริ่มสังเกตตัวเองกันดีกว่าว่า เรามีแนวโน้มจะอยู่ในช่วงวิกฤตวัยกลางคนกันหรือเปล่า

           สัญญาณเตือนของภาวะ Mid-life crisis

  • รู้สึกเบื่องาน ไม่รู้จะทำงานไปเพื่ออะไร เริ่มตั้งคำถามว่างานที่ทำอยู่ตอบโจทย์ชีวิตจริง ๆ หรือไม่ รู้สึกหมด passion ในการทำงาน อยากเปลี่ยนงาน แต่ก็ไม่รู้จะไปทำอะไรต่อดี
  • ทำงานตามความต้องการขั้นต่ำของบริษัท ทำงานให้เสร็จ ๆ ไป ไม่ได้มีความรู้สึกอยากพัฒนางานที่ตัวเองทำอยู่ให้ดีกว่าเดิม
  • รู้สึกเบื่อหน่าย เหนื่อยล้า ไม่พอใจกับชีวิต รู้สึกว่าทุกอย่างในชีวิตไร้ความหมาย ไม่มีอะไรสามารถทำให้มีความสุขได้
  • สับสนในตัวเอง ไม่รู้ว่าต้องการอะไรในชีวิต ไม่รู้ว่าชีวิตจะเดินต่อไปทางไหนดี
  • รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ รู้สึกว่าชีวิตไม่ได้เป็นตามที่คาดหวังไว้ รู้สึกว่าทำไมอายุขนาดนี้แล้ว ยังไม่ไปไหนเลย คิดถึงความก้าวหน้า และรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ก้าวหน้าไปไหน
  • เปรียบเทียบตัวเองกับคนในรุ่นเดียวกัน หรือพนักงานคนอื่นที่มีอายุน้อยกว่า
  • อยากเทความหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่
  • อยากทำอะไรท้าทาย นอกกรอบ สร้างความตื่นเต้น เช่น การเดตกับคนที่อายุน้อยกว่า ซึ่งในบางคนที่แต่งงานแล้ว อาจจะนำไปสู่ปัญหาครอบครัวได้
  • เริ่มพึ่งพาแอลกอฮอล์ หรือบุหรี่ เพื่อให้ตัวเองรู้สึกสบายใจขึ้น
  • มีพฤติกรรมการนอน หรือการกินที่เปลี่ยนไป ซึ่งนี้เป็นสัญญาณสำคัญที่อาจบอกว่า คุณกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นโรคซึมเศร้าอ่อน ๆ แล้ว
  • รู้สึกกังวลกับปัญหาสุขภาพของตัวเอง หรือเกิดความรู้สึกตื่นตูม เมื่อรู้ว่าสุขภาพไม่แข็งแรง แม้ว่าจะเป็นปัญหาไม่ใหญ่ ที่สามารถรักษาได้

           ทางป้องกันตัวเองจาก Mid-life crisis

  •  แยกแยะอารมณ์ช่วงวูบออกจากความต้องการของตัวเองจริง ๆ แม้ว่าจะรู้สึกเบื่อหน่ายงานมาก ๆ อาจจะลองกลับมาคิดทบทวนดูให้ดีว่า อะไรที่ทำให้เราเบื่องาน ความตั้งใจแรกที่เข้ามาทำงานนี้ของเราคืออะไร ลองกลับไปคิดถึงช่วงเวลาที่เราประสบความสำเร็จในงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก หรือเรื่องใหญ่ ก็สามารถเป็นเรื่องที่สร้างกำลังใจ ว่าเราสามารถทำงานนี้ได้ดีแล้วก็ได้
  • คิดบวกให้มาก พยายามมองหาแง่มุมดี ๆ ในช่วงวัยกลายคน เช่น ถึงชีวิตจะนิ่ง แต่ก็ทำให้รู้สึกมีความมั่นคงมากขึ้น ขอบคุณตัวเองที่พาตัวเองเดินทางผ่านร้อนผ่านหนาวมาจนถึงจุดนี้ได้ ลองหันไปมองคนรอบ ๆ ตัว และรักษาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ครอบครัว เพื่อน เพื่อนที่ทำงานให้ดี และมองหาแง่มุมดี ๆ ในชีวิตประจำวัน
  • ปรึกษาคนใกล้ตัว หรือผู้เชี่ยวชาญก็ได้ ลองแชร์เรื่องราวของเราให้คนอื่นฟัง นอกจากจะเป็นการระบายความเครียดแล้ว บางทีเราอาจจะอยู่ในจุดที่ไม่เห็นความเป็นไปที่แท้จริง แต่อาจได้แง่คิด และมุมมองใหม่ ๆ จากคนอื่นก็ได้
  • ลองเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่มีความสนใจ เช่น ไปลงเรียนทำอาหาร หรือปลูกต้นไม้ หากิจกรรมสร้างสรรค์อย่างอื่นทำ แบบที่ไม่ต้องกดดันตัวเอง อาจช่วยให้คลายเครียดได้
  • หาเวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะมีงานวิจัยมากมายที่บอกว่า การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้สุขภาพร่างการแข็งแรงแล้ว ยิ่งช่วงเรื่องจิตใจ เพราะร่างการจะหลั่งสาร “เซโรโทนิน” หรือ สารแห่งความสุข ร่วมถึงยังกระตุ้นการเติบโตของเซลล์สมองอีกด้วย และอย่างลืมพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างการได้พัก จะได้ลึกโอกาสเกิดความเครียดให้น้อยลง

หมั่นดูแลตัวเองให้ดี จัดการกับระบความคิดตัวเองให้ได้ สังเกตตัวเองบ่อย ๆ ว่าเรากำลังมีช่วงเวลาที่ยากลำบาก อย่างภาวะวิกฤตวัยกลางคนอยู่หรือเปล่า และถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว ก็พยายามมีสติให้มาก และให้ระลึกอยู่เสมอว่า การเปลี่ยนแปลงและปัญหา เป็นของคู่กันกับการใช้ชีวิต มีมาเพื่อให้เราได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่าง เพื่อจะได้มีชีวิตที่เติบโตอย่างแข็งแรง

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN