Phone

Line

Wechat

Hide

6 วิธีปรับเด็กใหม่ในองค์กร

by | Sep 26, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล

สำหรับคนวัยทำงานแล้ว การโยกย้ายทีม การเปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือการลาออก นั้นจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เราต้องเจอบ่อย ๆ ไม่แปลกที่ในทุกครั้งของการเริ่มต้นกับที่ทำงานใหม่นั้นจะเกิดความรู้สึกประหม่า ไม่มั่นใจเล็ก ๆ ขึ้นมาบ้าง เพราะเราเองก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องไปเจอกับเพื่อนร่วมงานแบบไหน และวัฒนธรรมองค์กรแบบไหน จะเหมาะสมกับเราไหม วันนี้เราจึงจะขอนำเอาเคล็ดลับดี ๆ ในการเริ่มต้นกับที่ทำงานใหม่ จะต้องปรับตัวยังไงให้ทำงานอย่างมีความสุขสำหรับเด็กใหม่ในองค์กร

การปรับตัวสำหรับเด็กใหม่ในองค์กร

1. มิตรภาพสำคัญ ย้ายที่ทำงานใหม่ เราเป็นสมาชิกใหม่ อย่างแรกเลย เราต้องเป็นมิตร ฉะนั้นใครจะเป็นมิตรกับเราหรือไม่เราไม่รู้ แต่เราเป็นมิตรไว้ก่อนเลยไม่เสียหาย เข้าไปวันแรกแจกรอยยิ้มทักทาย แค่นี้ความตึงเครียดของการไม่รู้เขารู้เราก็บรรเทาไปเยอะ แล้วก็วางตัวเป็นมิตรกับทุก ๆ คนด้วยการทักทายพูดคุยเรื่องทั่วไป หรือแนะนำตัวว่าเป็นใครมาจากไหน พร้อมฝากเนื้อฝากตัวเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีไว้ก่อนเลย

          2. สุภาพอ่อนโยน ไม่มีใครไม่ชอบความสุภาพนุ่มนวล จึงเป็นการดีที่เราจะใช้ความสุภาพเพื่อแสดงออกถึงความจริงใจกับออฟฟิศใหม่ หากเราสุภาพกับเพื่อนร่วมงานตั้งแต่ตอนต้น เราก็จะได้รับการตอบรับอย่างสุภาพกลับคืนมาเช่นกัน การทำงานก็ทำอย่างสุภาพนุ่มนวล เพื่อให้ทุกคนเห็นว่าเราให้เกียรติและจริงใจกับงาน ไม่ใช่เจออะไรที่ผิดไปจากที่คิดไว้ก็ชักสีหน้า บ่นพึมพำ หรือแสดงอาการไม่พอใจจนเกินไป แบบนี้ไม่มีใครอยากจะเข้าใกล้น้องใหม่อย่างเราแน่ ๆ

          3. ขยันเรียนรู้ จริงอยู่เราอาจจะมีประสบการณ์การทำงานมาแล้วหลายปี แต่การไปทำงานที่ใหม่ก็เหมือนกับการเริ่มนับหนึ่งใหม่เบา ๆ เพราะวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละที่นั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้น ไม่ว่าเราจะแก่กล้าประสบการณ์มาจากไหน หากเปลี่ยนที่ทำงานใหม่เราก็ต้องขยันเรียนรู้ อะไรที่ไม่เข้าใจหรือไม่มั่นใจก็ถามจากเพื่อนร่วมงานที่อยู่มาก่อน แต่การถามทุกครั้งควรถามอย่างสมเหตุสมผล ไม่ใช่ว่าถามวนทุกเรื่อง แบบนี้น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ดี

          4. รับผิดชอบหน้าที่ การมีความรับผิดชอบเป็นคุณสมบัติที่ทุกคนต้องมี โดยเฉพาะคนในวัยทำงานที่ถือว่าเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะแล้ว เข้าใจว่าในช่วงเริ่มต้นอาจจะยังไม่ถนัด หรือไม่คล่องแคล่วนัก อาจเพราะความไม่คุ้นชินกับสถานที่ กับผู้คนใหม่ ๆ หรือยังไม่เข้าใจขอบเขตของงาน ก็ยังพอเข้าใจได้ในช่วงแรก ๆ แต่ก็พยายามอย่าเป็นแบบนี้นานนัก เพราะทางผู้ว่าจ้างก็ย่อมคาดหวังงานที่สมบูรณ์อยู่แล้วจึงได้ว่าจ้างเราเข้ามาทำหน้าที่นี้

          5. ติดตามงานของตัวเอง จริงอยู่ที่ว่าการตั้งใจทำงานและมีความรับผิดชอบจะช่วยให้งานสำเร็จ แต่การติดตามผลงานที่อยู่ในระหว่างดำเนินการขั้นตอนอื่น ก็จะแสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ การติดตามงานแบบนี้จะช่วยเพื่อนร่วมงานเช็กข้อผิดพลาดของงานว่าข้อผิดพลาดหรือจุดไหนที่ต้องการให้เพิ่มเติมจะได้รีบแก้ไขได้ทันท่วงที ไม่ใช่แค่ทำงานส่วนของตัวเองเสร็จแล้วก็ปล่อยเลยตามเลย ไม่ได้ติดตามกระบวนการอื่น ๆ ต่อ หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นกับตัวงานก็อาจจะถูกตำหนิจากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานได้

          6. สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา การสื่อสารถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญมากในการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อให้ผลงานออกมาตรงตามความต้องการของผู้ว่าจ้างมากที่สุด มีจุดบกพร่องน้อยที่สุด ซึ่งผลงานจะออกมาดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันแล้วสร้างสรรค์ผลงานออกมานี่แหละ เพราะฉะนั้น เราต้องพยายามสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน และพยายามจับประเด็นหลักของงานให้ได้

การเริ่มต้นใหม่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทุก ๆ คน คนเราสามารถเริ่มต้นใหม่ได้หลายครั้ง และในช่วงแรก ๆ มันอาจจะยาก แต่ถ้าปรับตัวได้แล้ว ก็จะทำให้การทำสิ่งต่าง ๆ ง่ายขึ้น และยังเป็นการพัฒนาทักษะให้เก่งขึ้นโดยที่ตัวเราเองอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ เพราะฉะนั้น จงอย่ากลัวที่จะเริ่มต้นใหม่ ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อน ๆ วัยทำงานทุกคน

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN