Phone

Line

Wechat

Hide

เรื่องของเงิน (30 ล้าน) ไม่เข้าใครออกใครจริงๆเนอะ

by | Mar 4, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล

จากที่ผมเคยได้ยินเรื่องราวมาว่า บริษัทแห่งหนึ่ง มีพนักงานฝ่านขาย อักษรย่อ ร.บ. และ ก.ต. ได้ทำการลักทรัพย์จากทางบริษัทเป็นจำนวนเงิน 25 ล้านบาท โดยได้ลงมือร่วมกับ พนักงานฝ่ายบัญชี อักษรย่อ จ. และ ซ. ในเวลาต่อมาเจ้าของบริษัทได้รู้เรื่องราวทั้งหมดว่ามีการลักทรัพย์เกิดขึ้นในบริษัทและได้ทำการยื่นฟ้องเป็นที่เรียบร้อย โดยมีจำเลยคือ ร.บ. ก.ต. จ. และ ซ. จากนั้นต่อมาจำเลยทั้ง 4 คน ไม่อยากให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่โต จึงเสนอเงินให้กับเจ้าของบริษัทเป็นจำนวน 30 ล้านบาท ซึ่งทางเจ้าของบริษัทก็ให้ความสนใจที่จะจบเรื่องนี้โดยการรับเงินจำนวน 30 ล้านบาทนั้นมา แต่ในเมื่อเรื่องได้เข้าสู่ชั้นศาลแล้ว มันจะสามารถจบได้จริงๆหรือไม่  เราจะได้รู้กันในบทความนี้ครับ

คดีลักทรัพย์ เป็นอาญาแผ่นดินยอมความไม่ได้ถึงแม้จำเลยจะเสนอเงินถึง 30 ล้าน ก็ตาม

คดีลักทรัพย์ เป็นอาญาแผ่นดินซึ่งไม่อาจยอมความได้ ดังนั้นเมื่อถูกดำเนินคดีหรือตกเป็นจำเลยในคดีนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีต่อไป ตามระบบกระบวนการของกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

ระวางโทษความผิด

สำหรับโทษจำคุกในกรณี การลักทรัพย์ของบุคคลทั่วไปนั้น มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท ตามมาตรา 334  ส่วนกรณี ผู้มีสถานะเป็นลูกจ้างแล้วเข้าทำงานในหน้าที่ต่างๆไม่ว่าจะดูแลเงิน หรือสิ่งของต่างๆ ที่ไม่ใช่ของตน และลักทรัพย์ของนายจ้างไป โดยทุจริตแล้วนั้น จะมีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง อัตราโทษจะสูงขึ้น คือต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท ตามมาตรา 335 (11)  และส่วนใหญ่ พบว่าการลักทรัพย์ของลูกจ้างนั้นมักพ่วงมาด้วยการปลอมแปลงเอกสาร และปลอมลายมือชื่อในเอกสารนั้นมีความผิด ตาม มาตรา 264 อีกกระทงหนึ่งด้วย ที่ไม่สามารถยอมความกันได้ และมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท

การดำเนินคดีและเรียกค่าเสียหาย

เมื่อนายจ้างรู้ตัวว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวแล้ว ย่อมมีสิทธิที่จะไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดได้ ส่วนการเรียกให้คืนทรัพย์ที่ถูกลักขโมยไป เป็นเรื่องในทางแพ่งและพาณิชย์ ที่นายจ้างสามารถตั้งเรื่องฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายทางแพ่งคืนด้วยตนเอง หรือ นายจ้างผู้เสียหายนั้นจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนผ่านเจ้าพนักงานอัยการก็ได้ 

แต่ก่อนที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลด้วยการแจ้งความกับพนักงานสอบสวน นายจ้างจะดำเนินการบังคับคดีเองไม่ได้ อย่างเช่น การยึดทรัพย์ของลูกจ้าง หรือกระทำการอื่นใดที่เป็นการเรียกคืนทรัพย์สินที่ถูกลักขโมยกับผู้กระทำความผิด  เว้นแต่เป็นการตกลงยินยอมระหว่างคู่กรณีเกี่ยวกับค่าเสียหาย  ทั้งนี้ข้อตกลง ไม่อาจตกลงกันเพื่อระงับคดีอาญาซึ่งเป็นคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดินได้หากมีการฟ้องคดีแล้ว สำหรับเรื่องอายุความ กฎหมายกำหนดให้มีอายุความ 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิด(รู้ตัวผู้กระทำความผิด) ตามมาตรา 95 (3) ประมวลกฎหมายอาญา 

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN