Phone

Line

Wechat

Hide

5 วิธีจัดการภาวะ Burnout Syndrome ปัญหาสุดฮิตของคนวัยทำงาน

by | Oct 11, 2022 | Uncategorized

Burnout Syndrome คืออะไร

ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout-Syndrome คือคำเรียกของผู้ที่เผชิญ ความเครียดสะสม หรือรู้สึกว่าตนเองควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ในแต่ละวันไม่ได้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จนรู้สึกสิ้นหวัง ไม่มีแรง ไม่มีสมาธิ และประสิทธิภาพในการทำงาน หรือการใช้ชีวิตลดลง ส่วนใหญ่แล้วภาวะหมดไฟในการทำงานมักเกิดจากงานหรืออาชีพที่ทำเป็นหลัก แต่ก็อาจเกิดจากครอบครัว ความสัมพันธ์กับคู่รัก และเพื่อนฝูงได้เช่นกัน แม้ภาวะหมดไฟในการทำงานจะไม่ได้ถูกวินิจฉัยเป็นโรคทางการแพทย์ แต่ก็สามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์ จิตใจ และร่างกายได้หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี ผู้ที่มีอาการผิดปกติหลายคนจึงเลือกปรึกษาแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อหาสาเหตุของอาการทางกายที่อธิบายไม่ได้

Burnout-Syndrome เกิดจากอะไร

ภาวะหมดไฟในการทำงานเกิดได้จากหลายปัจจัย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แต่ละคนเผชิญ โดยอาจเกิดจากปัจจัยหลักๆ เพียงอย่างเดียว หรือหลายปัจจัยผสมกันก็ได้ ดังนี้

1.ปริมาณงานที่มากเกินไปจนไม่สามารถจัดการได้

2.ไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างเวลาทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance)

3.การเชื่อมต่อสื่อสารที่มากจนเกินไปผ่านการใช้เทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน แลปท็อป

4.ความไม่ยุติธรรมในสถานที่ทำงาน เช่น ความลำเอียงของหัวหน้างาน

5.หน้าที่ความรับผิดชอบเยอะเกินไปจนสับสน เช่น การรับผิดชอบงานหลายตำแหน่ง

6.ขาดการสนับสนุนและการสื่อสารจากหัวหน้า

7.แรงกดดันจากกำหนดส่งงานที่ไม่เหมาะสม

8.แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของอุตสาหกรรมต่างๆ

9.การแข่งขันที่สูงขึ้น

10.การถูกขอให้ทำงานที่ขัดความกับรู้สึกบ่อยครัง

โดยปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาจะไม่ได้ทำให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงานแบบปุบปับทันที แต่เกิดจากการสะสมอย่างต่อเนื่องจนทำให้หมดไฟ

ภาวะ Burnout-Syndrome

จึงถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของวัยทำงาน ที่มักจะพบได้ในชีวิตประจำวันทั่วไป  ซึ่ง Burnout Syndrome ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเป็นโรคที่เป็นผลจากการความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ทำให้หลาย ๆ องค์กรหันมาสนใจในเรื่องนี้มากขึ้น วิธีสังเกตว่าคุณกำลังอยู่ในภาวะ Burnout อยู่รึเปล่า สามารถทำได้ด้วยการประเมินอาการผิดปกติ ดังนี้ 

        อาการทางกาย

        รู้สึกเหนื่อย หมดแรง ร่างการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ไปจนถึงอาการป่วยง่าย เพราะภูมิคุ้มกันต่ำ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อบ่อย ไม่อยากอาหารหรือทานอาหารมากเกินไป ปวดท้อง คลื่นไส้ มีความสามารถในการจำและการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด

        อาการทางใจ

        รู้สึกล้มเหลว หดหู่ เบื่อ ขาดแรงจูงใจ ไม่มีความสุขในการทำงาน มองโลกในแง่ร้าย โกรธและหงุดหงิดง่าย เจ้าอารมณ์ พร้อมจะขัดแย้งกับคนรอบข้างได้ง่าย สงสัยในตัวเองและคนอื่นตลอดเวลา รู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง ไม่มีใครเข้าใจ ไม่พอใจในตัวเอง และรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ

อาการทางด้านพฤติกรรม

        พูดคุยกับคนรอบตัวน้อยลง ชอบแยกตัวไม่สุงสิงกับใคร ไม่อยากตื่นมาทำงาน มาทำงานสายแต่กลับบ้านเร็ว เริ่มขี้เกียจมากขึ้น ไม่กระตือรือร้น ผัดวันประกันพรุ่ง ทำงานไปตามหน้าที่ ไม่มีความคิดอยากพัฒนาที่ทำอยู่ ไปจนถึงเริ่มใช้สิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ในบางคน

ถ้าหากว่าคุณเริ่มมีอาหารเหล่านี้แล้ว แสดงว่าคุณเข้าข่ายจะอยู่ในภาวะ Burnout Syndrome เข้าแล้ว ควรรีบจัดการปรับสมดุลในการใช้ชีวิตส่วนตัวกับการทำงานอย่างเร่งด่วน ลองมาดู 5 วิธีจัดการภาวะ Burnout Syndrome กัน

5 วิธีจัดการภาวะ Burnout Syndrome

              1. พักผ่อน กลับมาดูแลร่างกายให้ดี

        เริ่มจากการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามเลี่ยงสิ่งเสพติด ไม่ว่าจะเป็น เหล้า บุหรี่ หรือว่ากาแฟ อาจจะลองลาพักผ่อนเป็นช่วยสั้น ๆ เพื่อให้ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของคุณได้รีเฟรชและคืนความสมดุลกลับมา ไม่แน่ คุณอาจจะได้แรงบันดาลใจใหม่ ๆ กลับมาก็ได้

        2. จัดระเบียบชีวิตให้มีคุณภาพ

ลองจัดลำดับความสำคัญของงานและเวลาในการใช้ชีวิตและทำงานของคุณใหม่ เลือกโฟกัสงานตามความสำคัญ จัดตารางเวลาในชีวิตประจำวันให้ชัดเจน เช่น ตื่นเวลาเดิมทุกวัน กำหนดเวลาในการทำงานให้ชัดเจน ไม่ทำงานตอนที่เลยเวลางานแล้ว

        3. ลดการใช้มือถือ แท็ปเลต และหาทางผ่อนคลายด้วยวิธีอื่น

        ลดการเล่นมือถือและใช้โซเชียลมีเดีย อย่าง เฟซบุ๊ค หรือ อินสตาแกรม ออนไลน์ให้น้อยลง และลองหาวิธีผ่อนคลายทางอื่น เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ หรือเที่ยวในสถานที่ใหม่ ๆ อะไรก็ได้ทำคุณชอบ และพอได้ทำแล้วก็รู้สึกมีความสุข หรือจะลองนั่งสมาธิ ก็เป็นการผ่อนคลายที่ดีและยังช่วยฝึกจิตใจให้สงบสุขอีกด้วย

        4. ปรับทัศนคติในการทำงาน เรียนรู้ความสามารถของตัวเอง

           สังเกตและกลับมาทบทวนว่าคุณมีความสามารถในการทำงานอย่างไร ทำอะไรได้ดี อะไรที่ต้องพัฒนา งานแบบไหนที่เราชอบหรือไม่ชอบ ลองกลับมาทำความเข้าใจตัวเองอีกครั้ง และพยายามมองทุกสิ่งอย่างที่มันเป็น รวมถึงความเครียด ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของภาวะหมดไฟ ลองมองความเครียดในแง่ใหม่ มองว่าเป็นธรรมชาติของการทำงาน เป็นสิ่งที่สามารถมีได้ เพราะการมีความเครียดในระดับที่พอดี จะทำให้คุณมีความใส่ใจในการทำงาน ทำให้ผลงานออกมาเป็นที่น่าพอใจ

         5. ปรึกษาคนรอบข้าง

         ถ้าคุณยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของภาวะ Burnout อาจจะลองคุยกับเพื่อนหรือคนรอบข้างดูก่อนก็ได้ ลองเลือกคนที่มองโลกในแง่ดี มีทัศนะคติที่ดีในการใช้ชีวิต มองเห็นคุณค่าในตัวผู้อื่น และคุณพร้อมจะเปิดใจคุยกับเค้า หรือถ้ายังรู้สึกไม่อยากคุยกับคนรอบตัวอยู่ อาจจะลองไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ อย่างจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาดูก็ได้ เพราะบุคคลเหล่านี้มักจะเจอคนที่มีปัญหาคล้าย ๆ คุณเข้ามาปรึกษาอยู่เสมอ ที่สำคัญเค้าสามารถให้คำแนะนำ จนคุณกลับมาเป็นคนที่มีแรงบันดาลใจ มีไฟในการทำงานอย่างเต็มเปี่ยมอีกครั้ง

Burnout Syndrome

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN