Phone

Line

Wechat

Hide

รวม 3 “พฤติกรรมลูกจ้าง” ผิดกฎหมายที่ห้ามทำ กรณีศึกษา “ทีมงานคิวเทโอปป้า”

by | Mar 16, 2022 | Uncategorized | 0 comments

โปรแกรมบริหารงานบุคคล
พฤติกรรมลูกจ้างผิดกฎหมายที่ห้ามทำ

การบริหารบุคลากรเป็นปัจจัยหลักที่สามารถชี้วัดว่าองค์นี้มีประสิทธิภาพขนาดไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กร หรือบริษัทยุคใหม่ที่มีลักษณะขนาดเล็กลงเป็น Home Office หรือที่เรียกว่าการทำงานแบบพี่น้อง ดังนั้นกฎเกณฑ์บางอย่างก็ถูกลดความสำคัญลง หรือแม้แต่ตำแหน่งลำดับงานก็มีความใกล้ชิดกันกว่าแต่ก่อน ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเป็นช่องทางให้พนักงาน หรือลูกจ้างหาช่องโหว่เอาเปรียบบริษัทจากความใกล้ชิดเหล่านี้

พฤติกรรมลูกจ้างที่ไม่ควรทำ เสี่ยงโดนไล่ออก และผิดกฎหมาย มีอะไรบ้าง

1. ทุจริตต่อหน้าที่ หมายถึง ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง

2. กระทำความผิดอาญาต่อนายจ้าง 

3. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 

4. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง กรณีนี้จะมีความใกล้เคียงกับข้อ 3.  ที่ต่างกันก็คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความประมาทจะต้องเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรงเท่านั้น

5. ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง 

6. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน 

7. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล การได้รับโทษจำคุกที่จะให้สิทธินายจ้างไล่ออกได้นั้น เฉพาะโทษจำคุกที่เกิดจากการกระทำความผิดโดย “เจตนา” เท่านั้น และคำพิพากษาที่ได้รับนั้นต้องเป็นคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งไม่มีการอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้อีก      

จากกรณีที่ ทีมงานคิวเทโอปป้า ได้กระทำนั้นประเด็นนี้มีเกร็ดน่ารู้ทางกฎหมาย ซึ่งเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมาย และมีสิทธิถูกไล่ออกโดยไม่ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายได้ ดังนี้

1.เอาข้อมูลบริษัทไปให้คนภายนอก

การกระทำบางอย่างของลูกจ้าง หรือพนักงานอาจจะคิดว่าไม่ได้เสียหายอะไรมากนัก เช่น ในกรณีทีมงานคิวเทโอปป้า มีการพูดถึงเรื่องราวภายในบริษัท เล่าถึงโปรเจคสำคัญ หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงอะไรในออฟฟิศ แต่ถ้าการแชร์ บอกต่อ บอกเล่าบางอย่างโดยเฉพาะส่วนที่เป็นความลับเฉพาะ หรือส่วนสำคัญที่ส่งผลกับบริษัทโดยตรง ต้องขอบอกเลยว่าอาจจะเข้าข่ายทำผิดกฎหมาย โดยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 322 ระบุไว้ว่า ผู้ใดเปิดผนึกหรือเอาจดหมาย โทรเลข หรือเอกสารใด ๆ ซึ่งปิดผนึกของผู้อื่นไป เพื่อล่วงรู้ข้อความก็ดี เพื่อนำข้อความในจดหมายโทรเลขหรือเอกสารเช่นว่านั้นออกเปิดเผยก็ดี ถ้าการกระทำนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังสามารถถูกฟ้องทางแพ่ง ข้อหาละเมิดจากการกระทำที่ส่งผลให้บริษัทเสียหายได้

2.นินทานายจ้าง

การบ่น ว่ากล่าว เจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานในสถานประกอบนั้น ไม่เว้นแต่ในโซเชียลมีเดีย อาจเป็นได้ทั้งความผิดทางแพ่งและหรือทางอาญา รวมทั้งอาจถือเป็นความผิดทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างด้วย โดยอาจจะเข้าข่ายผิดพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 119(2)  เพราะหากการบ่น ว่ากล่าว เจ้านาย ไม่เว้นแต่ในโซเชียลมีเดีย นั้นอยู่ในฐานที่ลูกจ้างตั้งใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องชดเชยและบอกล่วงหน้า

3.ลักทรัพย์นายจ้าง

สำหรับการลักทรัพย์ของผู้อื่น จากกรณีทีมงานคิวเทโอปป้า จะมีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง อัตราโทษจะสูงขึ้น คือต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท ตามมาตรา 335 (11)  และส่วนใหญ่ พบว่าการลักทรัพย์ของลูกจ้างนั้นมักพ่วงมาด้วยการปลอมแปลงเอกสาร และปลอมลายมือชื่อในเอกสารนั้นมีความผิด ตาม มาตรา 264 อีกกระทงหนึ่งด้วย ที่ไม่สามารถยอมความกันได้ และมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท

Facebook fanpage : GeeHRM Line@ : 640vtamj Tiktok : GeeHRM Website: GeeHRM

en_USEN