Phone

Line

Wechat

Hide

การส่งออกสินค้า เป็นอีกช่องทางที่ช่วยผู้ประกอบการให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ถึงแม้ว่าขั้นตอนอาจจะซับซ้อน แต่ไม่ยากจนเกินไป ในการส่งออกเราจะเห็นตัวอย่างความสำเร็จในการส่งออกสินค้ามากมาย แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังไม่มีโอกาสส่งออกสินค้าของตัวเองไปยังต่างประเทศ เพราะว่าอาจจะยังไม่รู้ช่องทาง และอาจกังวงไปถึงขั้นตอนซับซ้อนที่จะตาม ซึ่งในยุคนี้การส่งออกสินค้า ไม่ยากอย่างที่คิด ในการส่งออกสินค้าต้องทำอย่างไรบ้าง

ขั้นตอนการส่งออกสินค้าระหว่างประเทศที่ผู้ประกอบการควรรู้

ขั้นตอนที่ 1 รู้จักสินค้า และมองหากลุ่มเป้าหมาย
ก่อนส่งออกสินค้าเราต้องตรวจสอบว่า ชนิดของสินค้านี้เป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ มีหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ และมีกฎหมายหรือระเบียบใดที่ควบคุมสินค้าอยู่ ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ได้ที่กระทรวงพาณิชย์ และนำข้อมูลที่ได้ไปทำการจดทะเบียน 3 แบบดังนี้

  • ผู้ประกอบการ ต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์เป็นนิติบุคคล ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างควาน่าเชื่อถือ
  • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
  • จดทะเบียนตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้า ตามชนิดของสินค้าที่จำหน่าย เช่น ผลไม้สด หรือแช่แข็ง ต้องไปจดทะเบียนสวนผลไม้เพื่อการส่งออกที่กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เครื่องสําอางที่ทํามาจากสมุนไพร ต้องมีใบอนุญาตผลิต จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ถ้าหากสินค้าของคุณมีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะอยู่แล้ว เราอาจจะข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย การมองหากลุ่มเป้าให้ตรงกับสินค้านั้นทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค ว่าคนในประเทศนั้น ๆ มีความต้องการอะไร จากการที่มาซื้อแล้วนำกลับไป หรือมีการค้นหาสินค้าเหล่านี้เป็นจำนวนมากในออนไลน์

ขั้นตอนที่ 2 หาช่องทางในการจำหน่ายสินค้า

การหาพื้นที่ขายสินค้าไปยังต่างประเทศในปัจจุบันมีวิธีที่ได้รับความนิยม 2 แบบด้วยกัน คือ

  • การออกงานแสดงสินค้าตามประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย วิธีนี้จะทำให้เราเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก และยังมีความเสียงอีกด้วยเพราะการไปแสดงสินค้าอาจไม่ได้การันตีว่าเราจะขายของได้
  • การผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากเราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้โดยไม่ต้องลงทุนมาก และยังมีหลายช่องทาง อย่างเว็บไซต์ของเราเอง หรือ แพลตฟอร์ม e-commerce เช่น ebay, Alibaba, Amazon เป็นต้น ถ้าอยากให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้นเราก็สามารถทำการโฆษณาผ่านช่องทางเหล่านี้ได้อีกด้วย

ซึ่งหลังจากที่เราได้รับคำสั่งซื้อแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการส่งออกสินค้า


ขั้นตอนที่ 3 พิธีการศุลกากร

พิธีการศุลกากร เป็นขั้นตอนในการนำเข้าหรือส่งออกนอกประเทศ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ อาจจะจะต้องดำเนินการด้วยตัวเอง หรือใช้บริการ Shipping Agent เพื่อทำหน้าที่ส่งสินค้าไปต่างประเทศก็ได้ โดยขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากรมีดังนี้

  • ขอใบรับรองทางด้านความปลอดภัยและมาตรฐานสินค้า (ตามชนิดของสินค้า)
  • ขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ผู้นำเข้าได้รับการลดหย่อนภาษี
  • บริษัทขนส่ง (เรือบรรทุก หรือเครื่องบิน) พร้อมทำเรื่องการประกันภัยสินค้า
  • วางแผนจัดการส่งออกตามเงื่อนไขที่ผู้ซื้อระบุไว้ในหนังสือสั่งซื้อสินค้าที่
  • จัดทำเอกสารเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร ซึ่งจะต้องมีเอกสาร เพิ่มเติม ได้แก่ ใบขนสินค้าขาออก, บัญชีราคาสินค้า, บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ (Packing List), คำร้องขอให้ในการตรวจสินค้าและบรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์

_____________________________________________________________________________________


10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์

1. ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งถูกคิดค้นและจดสิทธิบัตรขึ้นในปี 1956

โดยชายชาวอเมริกันนามว่า Malcom Mclean ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งตู้คอนเทนเนอร์ เขาเคยเป็นคนขับรถบรรทุกมาก่อน ต่อมาได้คิดค้นการออกแบบวิธีขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์และได้ปฏิวัติอุตสาหกรรมขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ที่ช่วยลดต้นทุนการขนส่งไปได้มากกว่า 90%

2.ประเภทของตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้บ่อยที่สุดในอุตสาหกรรมการขนส่งชิปปิ้ง

  • Dry Container เป็นตู้คอนเทนเนอร์ ที่นิยมใช้กันมากที่สุดตามมาตรฐาน ISO เหมาะสำหรับการจัดส่งวัสดุแห้ง มีขนาดตั้งแต่ 10, 20 และ 40 ฟุต
  • Flat Rack Containers Flat Rack เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีด้านสามารถพับเก็บได้เพื่อรองรับการขนสินค้าที่มีน้ำหนักและขนาดใหญ่ เช่น อุปกรณ์ก่อสร้าง วัสดุก่อสร้างหรือเครื่องจักรกลหนัก
  • Open Top Containers มีส่วนที่สามารถถอดออกและเปิดหลังคาด้านบนได้ สำหรับบรรจุวัสดุ หรือสินค้าที่มีขนาดสูง
  • Side Open Container มีช่องเปิดที่เก็บด้านข้าง (ด้านยาว) เพื่ออำนวยความสะดวกในการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าที่เฉพาะเจาะจง เช่น ยานพาหนะขนส่ง
  • IOS (Refrigerated ISO Containers) เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่ควบคุมอุณหภูมิเย็นคงที่ เพื่อใช้ขนส่งสินค้าที่เน่าเสียได้ง่าย เช่น ผักผลไม้ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมหรืออาหารทะเล

3.ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์

โดยขนาดตู้คอนเทนเนอร์ตามมาตรฐานแล้วจะมี 2 ขนาด คือ ขนาด 20 (เหมาะสำหรับสินค้าหนัก เช่น เครื่องจักร)

และ 40 ฟุต (เหมาะสำหรับสินค้าเบา ที่มีจำนวนมาก)

4.วัสดุและโครงสร้างของตู้คอนเทนเนอร์

  • โครงสร้าง ประกอบไปด้วยเสาและคานที่ทำจากเหล็ก ตำแหน่งของเสาอยู่ทั้ง 4 มุมของคอนเทนเนอร์ มีความแข็งแรงขนาดรองรับน้ำหนักได้มากกว่า 25 ตัน
  • ผนัง เป็นส่วนที่มีเอกลักษณ์ มีลักษณะเป็นเหล็กที่พับเป็นลอนๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง มีน้ำหนักเบา และสีที่พ่นทับมีความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และความชื้น
  • พื้น โดยทั่วไปเป็นวัสดุบอร์ดหรือไม้

5. การขนส่งแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือตู้ LCL

การขนส่งแบบ LCL (Less Than Container Load) หรือการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์แบบไม่เต็มตู้ นิยมใช้ตู้ High Cube Container (ขนาด 40 ฟุต ) สินค้าส่วนใหญ่ที่ขนส่งแบบ LCL มักจะมีน้ำหนักเบา

6. ตู้คอนเทนเนอร์ของแต่ละสายเดินเรือมีขนาดไม่เท่ากัน

สายการเดินเรือแต่ละสายมักจะมีการสั่งผลิตตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง โดยแต่ละสายเรือก็จะมีขนาดของตู้ที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดใกล้เคียงกับตู้คอนเทนเนอร์ขนาดมาตรฐาน

7.ตัวเลขท้ายตู้คอนเทนเนอร์คือรหัสบอกรายละเอียด

ตัวเลขท้ายตู้คอนเทนเนอร์นั้นเป็นรหัสของตู้ ที่บอกรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์นั้น ซึ่งจะถูกกำหนดด้วยมาตรฐาน ISO 6346 ( มาตรฐานสากลที่ครอบคลุมการเข้ารหัสบัตรประจำตัวและเครื่องหมายของการขนส่ง) และ BIC (Bureau of International Containers) สำนักภาชนะบรรจุระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย

  • รหัสเจ้าของตู้คอนเทนเนอร์ – รหัสระบุประเภทตู้คอนเทนเนอร์ – รหัสการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์
  • รหัสตรวจสอบความถูกต้อง เจ้าของ ประเภท และการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์ – รหัสระบุขนาดและชนิดของตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น

8. ข้อดีและข้อเสียของตู้คอนเทนเนอร์

ข้อดี

  • ขนถ่ายสินค้าได้รวดเร็ว -ลดความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งและป้องกันการถูกโจรกรรม
  • ขนส่งได้ปริมาณมาก -การสั่งจองเรือระวางเพื่อขนส่งสินค้าทำได้สะดวก -ตรวจนับสินค้าได้ง่าย

ข้อเสีย

  • ไม่เหมาะกับการขนส่งระยะสั้น -สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากกว่าเมื่อใช้วิธีขนส่งด้วยรถบรรทุก แล้วเปรียบเทียบกับรถบรรทุกที่ใช้คอกกระบะชนิดเบา

9. Code ข้างตู้คอนเทนเนอร์ทำไมต้องมี 4 ตัวอักขระ?

รหัสข้างตู้คอนเทนเนอร์นั้น คืออักขระ 4 ตัวที่แสดงขนาดและชนิดของตู้ไว้ด้วยกัน (Container Size and Type Code) เป็นรหัสตามมาตรฐานที่กำหนด ISO 6346 โดย BIC (International Container Bureau) เช่น Code : 42G1

4 คือความยาว 40 ฟุต

2 คือความกว้างและความสูง

G1 คือชนิดตู้คอนเทนเนอร์ คือ General Purpose

10. อายุการใช้งานของตู้คอนเทนเนอร์

ปกติแล้ว ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้า(ชิปปิ้ง)สามารถใช้งานได้ยาวนาน 20 ปี และด้วยความที่ทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรง จึงไม่ได้ต้องการบำรุงรักษามากนัก เพียงแค่ทำความสะอาดตามตามปกติก็น่าจะเพียงพอแล้ว

_____________________________________________________________________________________

สั่งของออนไลน์ติดที่ศุลกากร หรือโดนกักที่ศุลกากร ต้องทำยังไง

ในยุคนี้ที่เศรษฐกิจ รอบตัวเรา ถึงแม้ว่าจะซบเซาลง แต่ก็ไม่สามารถจะทำลายอัตราการจับจ่ายใช้สอย ของผู้คนออนไลน์ได้ และยิ่งด้วยสถานการณ์ของ COVID-19 ในปัจจุบันยิ่งส่งผลให้อัตราการใช้ออนไลน์มีมากยิ่งขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการสั่งของออนไลน์จากต่างประเทศ เราต้องดูรายระเอียดให้ชัดว่า ของเรานั้นต้องเตรียมอะไรไหม แล้วถ้าสินค้าเราติดที่กรมศุลกากร นั้นเป็นเหตุมาจากอะไร ซึ่งในทีนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

ประเภทที่ 1 คือ แต่ละหีบห่อรวมราคาสินค้า, ค่าส่งและค่าประกันภัยไม่เกิน 1,500 บาท หรือเป็นสินค้าตัวอย่าง และไม่มีราคาในทางการค้า จะได้รับการยกเว้น แต่ต้องไม่เป็นของต้องห้ามหรือจำกัดในการนำเข้า จะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสินค้าจะถูกส่งต่อไปให้กับไปรษณีย์ไทย เพื่อนำส่งต่อไป ยังผู้รับโดยตรง

ประเภทที่ 2 คือ ของที่มาจากผู้ส่งมาถึงผู้รับคนหนึ่งในคราวเดียวกันหรือมาพร้อมกัน ไม่ว่าสินค้าจะมีกี่หีบห่อ โดยของที่มูลค่าสินค้ารวมค่า ค่าขนส่ง และประกันภัย มีมูลค่าตั้งแต่ 1,500 บาท ไม่เกิน 40,000 บาท และต้องไม่เป็นของต้องห้าม ต้องกำกัด หรือของที่ต้องส่งตัวอย่างวิเคราะห์สินค้าก่อนปล่อย โดยของประเภทนี้จะเป็นของต้องชำระอากร โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรเปิดตรวจของต่อหน้าเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อนำจ่ายให้ผู้รับ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ใกล้ที่อยู่ของผู้รับ โดยผู้รับจะได้รับ ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ที่ระบุที่ทำการไปรษณีย์ให้ไปติดต่อรับของและทำการชำระอากร (ซึ่งถ้าเรามีข้อสงสัยต่อยอดชำระอากร ก็สามารถโต้แย้งการประเมินภาษีก็สามารถทำได้)

ประเภทที่ 3 คือของอื่น ๆ ที่อยู่นอกจากประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 โดยสินค้านี้จะถูกนำไปเก็บรักษาในโรงพักสินค้าบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือส่งไปที่สำนักงานหรือด่านศุลกากร เพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากร ซึ่งของประเภทที่ 3 นี่เอง ที่จะโดนเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร กักสินค้า ก่อนตรวจปล่อย

ซึ่งเมื่อสินค้าของเรานั้นได้ติดที่ศุลกากร เราจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  • ขอรับสิ่งของด้วยตัวเอง กรณีผู้มีชื่อรับของตามที่ระบุในใบแจ้งฯ

ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ

บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้ หรือหนังสือเดินทาง (กรณีผู้รับของเป็นชาวต่างชาติ)

  • ขอรับสินค้าโดยการมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับสิ่งของแทน

ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ โดยให้ผู้มีชื่อรับของบันทึกรายระเอียดการมอบอำนาจให้แก่ผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองของทั้ง 2 ฝ่ายที่ด้านหลังใบแจ้งฯ

เอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และลงนามรับรองสำเนา

เอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองสำเนา

  • กรณีผู้รับของเป็นนิติบุคคล

ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ โดยให้ผู้ที่มีอำนาจลงนามพร้อมประทับตราของบริษัทที่ด้านหลังของใบแจ้งฯ

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของ หรือผู้จัดการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารผูกพันนิติบุคคลนั้น ๆ และลงนามรับรองสำเนา

สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างฯ ร้าน (ที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน) และลงนามรับรอง สำเนาพร้อมประทับตราบริษัทฯ

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองสำเนา

ทางเรามีบริการที่เคลียร์สินค้าให้โดยไม่ต้องเนทางมาดำเนินการเองครับ

การค้าผ่านแดน คืออะไร วันนี้เรามีคำตอบ

การค้าผ่านแดน คือ การที่ประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกันยินยอมให้การขนส่งสินค้าผ่านอาณาเขตของตนเพื่อส่งออกต่อไป ประเทศที่สาม โดยไม่มีการเรียกเก็บอากรสำหรับสินค้า

การได้รับสิทธิผ่านดินแดน ดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขข้อกำหนดของประเทศนั้น ๆ

โดยมีตลาดการค้า เช่น จีน อินเดีย บังคลาเทศ และเวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่น่าสนใจ การขนส่งสินค้าทางบกผ่านแดนจะช่วยลดระยะทางการขนส่งสินค้า และช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง

และยังช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย

ของต้องห้ามในการนำเข้า หรือ ส่งออก

ใครที่กำลังนำสินค้ามาขายจากต่างประเทศ หรือ ส่งออกไปนอกประเทศ

อย่าลืม! ตรวจเช็คให้ดีว่า สินค้าที่เหล่านั้น มีความผิดตามมาตรา 244 และ มาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 หรือไม่

ซึ่งมีรายการดังนี้

•        วัตถุลามก ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือการ์ตูน นิตยสาร  รูปภาพ วิดีโอเทป และวัตถุลามกอื่น ๆ

•        สินค้าที่มีตราหรือลวดลายเป็นรูปธงชาติ

•        ยาเสพติดให้โทษ แม้แต่เครื่องดื่มหรือยาที่มีส่วนผสมของสิ่งเสพติด

•        เงินตรา พันธบัตร เอกสารที่ประทับตราของทางราชการอันเป็นของปลอม

•        สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น เทปเพลง  วีดีโอเทป กระเป๋า น้ำหอม ที่เลียนแบบ

•        สินค้าปลอมแปลงหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า เช่น ยาประเภทต่าง ๆ ที่ไม่ได้มาตรฐาน

____________________________________________________________________________________

ส่งสินค้าผ่านทางทะเล อย่าลืมทำประกันภัยทางทะเลและขนส่ง

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง แบ่งได้เป็น 3 ประเภท

Marine Cargo Insurance  คือ การประกันเพื่อคุ้มครองสินค้าหรือทรัพย์สินที่ขนส่งระหว่างประเทศจากผู้ขายในประเทศหนึ่งไปยังผู้ซื้อในอีกประเทศหนึ่งโดยทางเรือเดินสมุทร เครื่องบินพาณิชย์ หรือทางพัสดุไปรษณีย์ จากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น เรือถูกไฟไหม้ เรือคว่ำ เรือจม ความเสียหายจากการขนถ่ายสินค้าขึ้น หรือขนลงจากเรือ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวสินค้า

 Inland Transit Insurance  คือ การประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศยาน รับประกันภัยสินค้าหรือทรัพย์สิน ในระหว่างการขนส่งจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งโดยยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งคือ รถบรรทุก 6 ล้อ รถบรรทุก 10 ล้อ รถเทรลเลอร์ เรือฉลอม เรือโป๊ะ และเครื่องบินพาณิชย์

 Marine Hull Insurance  คือ การประกันภัยตัวเรือประกันภัยคุ้มครองความสูญเสีย หรือเสียหายของโครงสร้างตัวเรือ รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  • ประเภทไม่มีเครื่องจักร ส่วนที่เป็นโครงสร้างของเรือ รวมถึงอุปกรณ์บนเรือ และสัมภาระต่าง ๆ
  • ประเภทที่มีเครื่องจักรหรือกำลังขับเคลื่อนเอง คือ ส่วนที่ให้พลังงานการเดินเรือทำความร้อน ทำความเย็น

____________________________________________________________________________________________________________________________

Incoterms 2020

 Incoterm 2020 มีการปรับปรุงให้เข้ากับภาวะการค้าโลกในปัจจุบัน ยังคงมี 11เทอม คือ

EXW (Ex works) FCA (Free Carrier) CPT(Carriage Paid To) CIP (Carriage and insurance Paid To) DAP (Delivered at Place ) DPU (Delivered at Place Unload) DDP (Delivered DutyPaid) FAS(Free Alongside Ship) FOB(Free on Board) CFR (Cost and Freight) CIF (Cost Insurance and Freight )

Incoterms 2020 มีการเปลี่ยนแปลงจาก Incoterms 2010 ที่สำคัญคือ

1.เทอมDAT(Delivered at Terminal)ของ Incoterms 2010สลับหน้าที่มาเป็นเทอมDAP ของ Incoterms 2020 และเทอมDATของIncoterms 2010 เปลี่ยนและเรียกชื่อเป็นDPU ของIncoterms 2020เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ขายและผู้ซื้อประสงค์ให้มีการส่งมอบและรับมอบสินค้ากัน ณสถานที่อื่นมากกว่าระบุเพียงที่สถานีปลายทาง เพื่อให้ยืดหยุ่นขึ้น

2.ในการทำสัญญาซื้อขาย เทอม FCA ที่ผู้ขายต้องบรรทุกสินค้าขึ้นหรือลงในยานพาหนะที่ผู้ซื้อจัดหา ในกรณีที่ไม่ใช่บรรทุกลงเรือใหญ่โดยตรง ต้องบรรทุกขึ้นรถหรือลงเรือโป๊ะไปถ่ายลงเรือใหญ่อีกทอดหนึ่ง ในกรณีเป็นการชำระเงินโดยL/C ซึ่งธนาคารกำหนดให้ต้องนำB/L ไปแสดงจึงจะจ่ายเงินตามL/Cให้ผู้ขาย มีปัญหาเกิดขึ้นคือสายการเดินเรือ จะยังไม่ออกB/Lให้จนกว่าสินค้าที่บรรทุกในรถหรือเรือโป๊ะ จะบรรทุกลงเรือใหญ่

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ตามIncoterms 2020 ในเทอม FCA ได้เปิดช่องให้ คู่สัญญาสามารถทำความตกลงกันในสัญญาซื้อขาย กำหนดให้ผู้ซื้อที่เป็นผู้จัดหาเรือ ต้องมีข้อกำหนดให้สายการเดินเรือออกB/Lและเอกสารที่เกี่ยวกับการบรรทุกให้ผู้ขายในกรณีดังกล่าวข้างต้น

3.การครอบคลุมของการประกันภัยในระดับที่สูงขึ้น

ในการซื้อขายเทอม CIF และเทอม CIP เป็นหน้าที่ของผู้ขายต้องรับผิดชอบในการประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่งไปส่งมอบให้ผู้ซื้อ ตามIncoterms 2010 สัญญาประกันภัยอาจครอบคลุมช่วงใดช่วงหนึ่งของการขนส่ง แต่ตามIncoterms2020 ผู้ขาย ต้องซื้อประกันภัยที่ครอบคลุม สูงขึ้นจากเดิม

EXW: Ex Work
Delivery Point: ผู้ขายวางสินค้าให้ผู้ซื้อมารับไปเอง ณ สถานที่ที่ระบุ โดยไม่ต้องขนสินค้าขึ้นบนพาหนะที่มารับ
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายเมื่อได้รับมอบสินค้า
Cost Point: ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบแล้ว
Customs Clearance Point: ผู้ชื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก/ผ่านแดน/ขาเข้า (ผู้ขายให้ความช่วยเหลือด้านเอกสารและข้อมูลเพื่อการส่งออก)

FCA: Free Carriage
Delivery Point: ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะของผู้รับขนที่ผู้ซื้อจัดมารับ ณ สถานที่ที่ระบุ
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
Cost Point: ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดเกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบแล้ว
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดนน/ขาเข้า
(ผู้ขายให้ความช่วยเหลือด้านเอกสารและข้อมูลเพื่อการผ่านแดน/นำเข้า)

CPT: Carriage Paid To
Delivery Point: ผู้ซื้อรับมอบสินค้าจากผู้ขายเมื่อเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขน ณ จุดที่กำหนด ผู้ซื้อรับสินค้าจากผู้รับขน ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับจัดการขนส่งทู้ขายว่าจ้าง
Cost Point: ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดเกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบแล้ว
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

CIP: Carriage and Insurance Paid To
Delivery Point: ผู้ซื้อรับมอบสินค้าจากผู้ขายเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขน ณ จุดที่กำหนด
ผู้ซื้อรับสินค้าจากผู้รับขน ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
Cost Point: ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุภายใต้สัญญารับขน
ผู้ขายต้องทำสัญญาประกันภัยต่อความเสี่ยงและชำระค่าประกันภัยให้ผู้ซื้อจากจุดส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับจัดการขนส่งที่ผู้ขายว่าจ้าง ไปยังสถานที่ปลายทางที่ระบุ
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดนน/ขาเข้า

DAP: Delivered at Place
Delivery Point: ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะขนส่งที่พร้อมจะขนถ่ายสินค้าลง ณ สถานที่ปลายทางระบุ
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
Cost Point: ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุภายใต้สัญญารับขน
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออกและผ่านแดน ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาเข้า

DPU: Delivered at Place Unloaded
Delivery Point: ผู้ขายต้องขนถ่ายสินค้าลงบนพาหนะขนส่งที่มาถึง และส่งมอบสินค้าโดยวางไว้ให้ผู้ซื้อมารับไปเอง ณ ที่สถานที่ปลายทางที่ระบุ
Risk Point: ผู้ขายรับความเสี่ยงทั้งหมดในการนำสินค้าไปยังและขนถ่ายลง ณ สถานที่ที่ปลายทางระบุ
Cost Point: ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุ ภายใต้สัญญารับขน
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออกและผ่านแดน ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาเข้า

DDP: Delivered Duty Paid
Delivery Point: ผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะขนส่งที่มาถึงพร้อมจะขนถ่ายสินค้าลง ณ จุดที่ตกลงกันที่สถานที่ปลายทางที่ระบุ
Risk Point: ผู้ขายรับความเสี่ยงทั้งหมดในการนำสินค้าไปยังและขนถ่ายลง ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ
Cost Point: ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้าและการขนส่งสินค้าจนสินค้าถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุ ภายใต้สัญญารับขน
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก/ผ่านแดน/ขาเข้า

FAS: Free Alongside Ship
Delivery Point: ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้ที่ข้างเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
Cost Point: ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบสินค้าแล้ว
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

FOB: Free on Board
Delivery Point: ผู้ขายส่งมอบสินค้าโดยวางสินค้าไว้บนเรือของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
Cost Point: ผู้ซื้อชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบสินค้าแล้ว
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออกผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

CFR: Cost and Freight
Delivery Point: ผู้ซื้อรับมอบสินค้าเมื่อผู้ขายไปวางไว้บนเรือ ณ ท่าเรืออส่งออกที่ระบุและรับสินค้าจากผู้รับขน ณ ท่าเรือปลายทางที่ระบุ
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
Cost Point: ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดจนสินค้าได้ส่งมอบแล้ว
ผู้ขายต้องทำสัญญาขนส่งสินค้าและชำระค่าระวางและค่าใช้จ่ายอื่นจากจุดส่งมอบไปยังจุดหมายปลายทางที่ตกลงกันไว้
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

CIF: Cost Insurance and Freight
Delivery Point: ผู้ซื้อรับมอบสินค้าเมื่อสินค้าวางอยู่บนเรือ ณ ท่าเรือที่ระบุ และรับสินค้าจากผู้รับขน ณ ท่าเรือปลายทางที่กำหนด
Risk Point: ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว
Cost Point: ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้หมดจนสินค้าถูกส่งมอบแล้ว
ผู้ขายต้องทำสัญญาขนส่งสินค้าและชำระค่าระวางและค่าใช้จ่ายอื่นจากจุดส่งมอบไปยังจุดหมายปลายทางที่ตกลงกันไว้
นอกจากนี้ผู้ขายต้องทำสัญญาประกันภัยและชำระค่าประกันภัยจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทางใน Clauses (C) ของ Institute Cargo Clauses
Customs Clearance Point: ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

en_USEN